ติดตามความรู้ในแวดวง Martech จาก Crescendo Lab คลิกเลย!
สำหรับใครที่พอจะรู้จัก LINE Official Account (LINE OA) แต่ยังไม่แน่ใจว่าต้องเริ่มใช้ยังไง หรือเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจผ่านไลน์ได้อย่างไรบ้าง บล็อกนี้เหมาะกับคุณ!
LINE Official Account (LINE OA) เป็นแพลตฟอร์มที่ทั้งสะดวก ใช้งานง่าย แถมยังมีฟีเจอร์ที่หลากหลาย ทำให้กลายเป็นช่องทางหลักที่หลายแบรนด์เลือกใช้ในการสื่อสารกับลูกค้าแบบใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ยังมีเพียงไม่กี่แบรนด์ที่สามารถใช้ LINE OA ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนยอดขายพุ่งทะลุเป้า
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักวิธีการใช้งาน LINE OA อย่างละเอียด พร้อมเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยให้คุณทำการตลาดผ่านไลน์ (LINE Marketing) ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยผลักดันยอดขายของคุณให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
_____________________________________________________________________________________________
เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ 👇 |
___________________________________________________________________________________________
สมัคร LINE OA ยังไง
ขั้นตอนแรกในการเริ่มต้นใช้งาน LINE Official Account (LINE OA) คือการสมัครบัญชีทางการสำหรับแบรนด์ของคุณ การสร้างบัญชีไลน์ไม่ยุ่งยากและสามารถทำได้ฟรี นอกจากนี้ เราจะมาแนะนำวิธีการอัปเกรดชื่อบัญชีให้เป็นบัญชีพรีเมียม เพื่อให้คุณสามารถทำตามได้อย่างง่ายดาย
วิธีสมัคร LINE OA ใน 5 ขั้นตอน
คุณสามารถสร้างบัญชีทางการไลน์ผ่านทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน แต่เพื่อความสะดวกให้การกรอกข้อมูลและใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ เราแนะนำให้สมัครผ่านเว็บไซต์ผ่านคอมพิวเตอร์ โดยให้เลือกประเภทบัญชี
วิธีสมัคร LINE Official Account มี 5 ขั้นตอนดังนี้
1. เข้าสู่เว็บไซต์
เริ่มต้นด้วยการไปที่ LINE Official Account เพื่อเข้าถึงบริการต่างๆ
2. เลือกประเภทบัญชี
คลิกที่ “สร้างบัญชีทั่วไป” หรือ “สร้างบัญชีรับรอง” ตามประเภทที่ต้องการ โดยมีรายละเอียดดังนี้:
- บัญชีทั่วไป: เป็นบัญชีเบื้องต้นที่มีโล่สีเทา สามารถอัปเกรดเป็นบัญชีรับรองได้ในอนาคต เหมาะสำหรับร้านค้าออนไลน์ใหม่ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการ
- บัญชีรับรอง: เป็นบัญชีที่ได้รับการรับรองพร้อมโล่สีน้ำเงิน ซึ่งเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ทำให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น พร้อมใช้งานฟังก์ชันต่างๆ อย่างครบครัน แต่จะมีค่าบริการเพิ่มเติม และอาจต้องส่งเอกสารประกอบการพิจารณา เหมาะสำหรับแบรนด์ใหญ่หรือตัวแทนจำหน่าย
3. กรอกข้อมูลบัญชี
กรอกข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อบัญชี (Display Name), อีเมล และหมวดหมู่ธุรกิจ
4. ตรวจสอบข้อมูล
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลถูกต้อง จากนั้นคลิก “ส่ง” เพื่อส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ
5. เสร็จสิ้นการสมัคร
เมื่อระบบแสดงว่าการสมัครบัญชีของคุณเสร็จสมบูรณ์แล้ว คุณก็สามารถเริ่มใช้งาน LINE Official Account Manager หรือระบบหลังบ้าน LINE เพื่อบริหารจัดการธุรกิจของคุณได้ทันที
วิธีอัปเกรดชื่อบัญชีพรีเมียม (Premium ID)
หากคุณสมัคร LINE Official Account ประเภทบัญชีทั่วไป ชื่อบัญชีของคุณจะได้รับเป็น Basic ID ซึ่งเป็นไอดีที่ถูกสร้างขึ้นแบบสุ่ม เช่น “@lvp4579” แต่ถ้าหากคุณต้องการใช้ชื่อ LINE ID ที่สวยงาม ค้นหาและจดจำง่าย เช่น “@crescendolab” คุณสามารถอัปเกรดชื่อเป็น Premium ID ได้ด้วยตนเองผ่านระบบ LINE Official Account Manager เพื่อเพิ่มความเป็นมืออาชีพและให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้น โดยจะมีค่าใช้จ่าย 444 บาทต่อปี หรือ 459 บาทเมื่อสมัครผ่าน iOS
การอัปเกรดเป็น Premium ID จะช่วยให้ธุรกิจของคุณดูน่าเชื่อถือและสะดุดตามากขึ้น สร้างความประทับใจแรกที่ดีให้กับลูกค้า
แนะนำ 12 วิธีเพิ่มจำนวนเพื่อนบน LINE OA
การมีจำนวนเพื่อนใน LINE OA ที่มากขึ้นถือเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดโอกาสให้แบรนด์ของคุณสามารถทำการตลาดได้ในแพลตฟอร์มเดียว ผ่านการส่งบรอดแคสต์โปรโมชัน หรือนำเสนอสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างมีนัยสำคัญ มาดูวิธีการเพิ่มจำนวนเพื่อนบน LINE OA กันเลย!
1. สร้างลิงก์สำหรับเพิ่มเพื่อน
การสร้างลิงก์เพื่อให้ลูกค้าเพิ่มเพื่อนใน LINE OA ของคุณเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดี เพียงไปที่หน้าระบบหลังบ้านของ LINE OA เลือกฟังก์ชัน “เพิ่มเพื่อนใหม่” เพื่อสร้างลิงก์ จากนั้นคัดลอกลิงก์ดังกล่าวและแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียหรืออีเมล
2. สร้าง QR Code เพิ่มเพื่อน
QR Code เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยให้ลูกค้าใหม่เพิ่มเพื่อนบน LINE ได้ง่าย ๆ เพียงเข้าไปที่ฟังก์ชัน “เพิ่มเพื่อนใหม่” ระบบจะสร้าง QR Code ให้โดยอัตโนมัติ จากนั้นคุณสามารถดาวน์โหลดคิวอาร์โค้ด หรือแชร์คิวอาร์โค้ดนี้ในช่องทางต่างๆ ได้เลย ลูกค้าแค่สแกนก็เพิ่มเพื่อนได้ทันที
3. สร้างปุ่มเพิ่มเพื่อน
คุณสามารถสร้างปุ่มเพิ่มเพื่อนเพื่อให้ลูกค้าสามารถเพิ่มเพื่อนบน LINE OA ได้สะดวก เพียงแค่คัดลอก HTML ของปุ่มนั้นไปวางในบล็อกหรือเว็บไซต์ของคุณ เมื่อลูกค้าคลิกก็จะเพิ่มเพื่อนได้เลย
4. สร้าง QR Coupon
การใช้ QR Coupon เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดลูกค้าใหม่ให้เพิ่มเพื่อนใน LINE OA ของคุณ เพราะลูกค้าจะต้องเพิ่มเพื่อนบน LINE ของแบรนด์คุณก่อนถึงจะใช้คูปองได้ คูปองนี้เป็นสิ่งจูงใจที่ดีเพราะลูกค้ามักเต็มใจที่จะเพิ่มเพื่อนเพื่อรับสิทธิพิเศษต่าง ๆ จากแบรนด์
ข้อแนะนำ: ควรกำหนดอายุการใช้งานของคูปองให้นานพอสมควร เพื่อป้องกันกรณีที่คูปองหมดอายุแล้ว ซึ่งอาจส่งผลต่อความประทับใจที่มีต่อแบรนด์ได้
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ LINE Coupon
5. สร้างบัตรสะสมแต้ม (Reward Cards)
บัตรสะสมแต้มบน LINE OA เป็นทางเลือกที่ดีกว่าบัตรกระดาษแบบเดิม ๆ ที่เสี่ยงต่อการสูญหายและไม่สะดวกในการพกพา เมื่อลูกค้าเพิ่มเพื่อนใน LINE OA ของคุณ ลูกค้าก็จะสามารถเริ่มสะสมแต้มและใช้สิทธิประโยชน์ได้ทันที วิธีนี้ไม่เพียงช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าเพิ่มเพื่อน แต่ยังสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าที่กลับมาซื้อสินค้าซ้ำ ๆ ได้อีกด้วย
6. สร้างสติ๊กเกอร์ของแบรนด์
สติ๊กเกอร์ของแบรนด์ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นสัญลักษณ์ประจำแบรนด์ที่สามารถปรากฏในแชทของผู้ใช้งานจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ลูกค้าต้องกดเพิ่มเพื่อนบนไลน์ของแบรนด์ก่อนเพื่อดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์เหล่านี้มาใช้งาน วิธีนี้จึงเหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณด้านการตลาดสูง
7. โฆษณาเพิ่มเพื่อน (Gain Friends Ads)
สำหรับแบรนด์ที่พอจะมีงบ โฆษณาเพิ่มเพื่อน เป็นฟีเจอร์ใหม่ของ LINE OA ที่ช่วยให้แบรนด์สามารถโปรโมทบัญชีของตนผ่านตำแหน่งต่างๆ บน LINE เช่น Home Tab, Chat list, LINE VOOM ฯลฯ ระบบจะเลือกตำแหน่งโฆษณาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยอัตโนมัติผ่านการประมูล (Bidding) โดยแบรนด์สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายและงบประมาณของแคมเปญได้เอง
ข้อกำหนดคือ บัญชีต้องเป็นบัญชีรับรอง (โล่สีน้ำเงิน) และโฆษณาต้องผ่านการอนุมัติจาก LINE เท่านั้นจึงจะแสดงในตำแหน่งต่าง ๆ
8. คูปองแนะนำเพื่อน
LINE มีตัวเลือกให้คุณสร้างคูปองแนะนำเพื่อน โดยลูกค้าจะใช้คูปองเพื่อรับสิทธิพิเศษได้ก็ต่อเมื่อมีลูกค้าของคุณแชร์หน้าแนะนำคูปองให้เพื่อนหรือคนรู้จักคนอื่น โดยทั้ง "ผู้แนะนำ" และ "ผู้ได้รับการแนะนำ" จะได้รับคูปองทั้งคู่หลังจากที่ผู้ได้รับการแนะนำได้เพิ่มเพื่อนบน LINE เพื่อรับคูปองจากแบรนด์คุณ นอกจากลูกค้าผู้แนะนำจะได้รับสิทธิพิเศษสองต่อ แบรนด์คุณยังได้จำนวนเพื่อนผู้ติดตามได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
9. ส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านมือถือด้วย LINE Official Notification (LON)
LINE Official Notification (LON) ช่วยให้แบรนด์สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนถึงลูกค้าได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเพื่อนกันบน LINE เพียงแค่มีหมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนกับบัญชี LINE วิธีนี้ช่วยสร้างความประทับใจและเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะเพิ่มเพื่อนใน LINE OA เพื่อรับข้อมูลและโปรโมชันเพิ่มเติมในอนาคต
10. การตลาดแบบปากต่อปาก (Member Get Member)
ฟังก์ชัน Member Get Member (MGM) จาก MAAC ของ Crescendo Lab ช่วยให้ลูกค้าปัจจุบันสามารถเชิญเพื่อนมาร่วมเป็นเพื่อนบน LINE OA ของแบรนด์คุณ โดยแบรนด์แจกรางวัลพิเศษเป็นแรงจูงใจ วิธีนี้ช่วยกระจายการรับรู้แบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการตลาดแบบปากต่อปาก (WOM)
11. โพสต์บน Timeline อย่างสม่ำเสมอ
การโพสต์คอนเทนต์ที่น่าสนใจบน Timeline ของ LINE OA ของแบรนด์คุณอย่างต่อเนื่องเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มการมองเห็นของแบรนด์ เทคนิคคือการสร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของคุณ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้าในอนาคต เช่น หากคุณขายเสื้อผ้าแฟชั่น ก็ควรโพสต์เกี่ยวกับเคล็ดลับการแต่งตัวหรือการเลือกเสื้อผ้าตามโอกาสต่างๆ
12. เชื่อมต่อ LINE Pay ไว้กับ LINE OA
การเชื่อมต่อ LINE Pay กับ LINE OA เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ที่เราแนะนำว่าสามารถช่วยเพิ่มจำนวนเพื่อนในบัญชีของคุณได้ เมื่อลูกค้าชำระเงินผ่าน LINE Pay สำเร็จ ผู้ใช้งานก็จะเห็นลิงก์ให้กดเพิ่มเพื่อนใน LINE OA ของคุณ วิธีนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่คุณต้องตั้งค่าการแสดงลิงก์ในระบบหลังบ้านของ LINE Pay ด้วยตนเอง
วิธีดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าผ่าน LINE
การดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management หรือ CRM) กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่หลายแบรนด์หันมาให้ความสำคัญมากขึ้น บทความจาก Harvard Business Review ระบุว่า “ต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่สูงกว่าการรักษาลูกค้าเดิมถึง 5-25 เท่า” (อ้างอิงจากงานวิจัยของ Bain & Company) นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้หลายธุรกิจพัฒนาระบบการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าและสร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและมุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว
รู้จักระบบจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM)
การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management) หรือ CRM เป็นพื้นฐานสำคัญในการดูแลความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า นี่จึงเป็นแนวคิดที่ทุกแบรนด์ควรยึดไว้ เพื่อรักษาการปฏิสัมพันธ์ทางการตลาดระหว่างแบรนด์กับลูกค้าให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรให้ลูกค้าซื้อสินค้าเพียงครั้งเดียวแล้วจากหายกันไป
การสร้างระบบรักษาความสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพบน LINE OA จะช่วยให้แบรนด์คุณมีลูกค้าที่มีมูลค่าสูง (Customer Lifetime Value) หลายแบรนด์ใหญ่จึงยอมลงทุนใช้ LINE CRM ในการดำเนินธุรกิจ
ทำไมแบรนด์ควรใช้ระบบ LINE CRM
LINE CRM เป็นระบบการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าบน LINE Official Account ของแบรนด์ต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว
หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่แบรนด์ควรใช้ LINE CRM คือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างครอบคลุม (Customer 360) และสร้างโปรไฟล์ลูกค้า (Customer Profile) ที่ละเอียด ทำให้แบรนด์สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนการตลาดอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น MAAC จาก Crescendo Lab ที่มาพร้อมฟีเจอร์การตลาดอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มยอดขายบน LINE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
CRM กับการวัดมูลค่าตลอดอายุการใช้งานลูกค้า (Customer Lifetime Value - CLV)
CRM มีความสำคัญต่อแบรนด์ เนื่องจากลูกค้าแต่ละรายมี “มูลค่าตลอดอายุการใช้งานลูกค้า” หรือ Customer Lifetime Value (CLV) ที่แตกต่างกัน ระบบ CRM จึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยวิเคราะห์และเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก เพื่อรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าในระยะยาว แบรนด์สามารถคำนวณ CLV เพื่อให้รู้ว่ามูลค่าตลอดอายุการใช้งานที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์นั้นมีเท่าไหร่ ยิ่ง CLV มาก ยิ่งแสดงถึงความคุ้มค่าที่แบรนด์ควรลงทุนกับระบบ CRM เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้และรักษาลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์อย่างยั่งยืน
CRM กับการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าด้วย RFM Model
หนึ่งในหัวใจสำคัญของการดูแลความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ผ่าน LINE คือการแบ่งกลุ่มลูกค้า เพื่อจัดการกับแต่ละกลุ่มอย่างแม่นยำและเข้าใจมูลค่าตลอดอายุการใช้งานลูกค้า (Customer Lifetime Value - CLV) ที่แตกต่างกัน สำหรับการวิเคราะห์และจัดกลุ่มลูกค้า หลายแบรนด์มักใช้ RFM Model ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญดังนี้:
- R (Recency): ระยะเวลาที่ลูกค้าซื้อสินค้าหรือใช้บริการครั้งล่าสุด ยิ่งลูกค้าซื้อสินค้าใกล้เวลาปัจจุบันเท่าไหร่ คะแนน Recency ก็ยิ่งสูงขึ้น เพราะลูกค้าเพิ่งมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์
- F (Frequency): ความถี่ที่ลูกค้าซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ลูกค้าที่ซื้อหรือใช้บริการบ่อยจะได้คะแนน Frequency สูงขึ้น ซึ่งแสดงถึงความผูกพันที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์
- M (Monetary): จำนวนเงินที่ลูกค้าซื้อสินค้าหรือใช้บริการในแต่ละครั้ง ยิ่งลูกค้าซื้อสินค้าจำนวนมากเท่าใด ก็จะได้คะแนน Monetary สูงขึ้น แสดงถึงมูลค่าที่ลูกค้านำเข้ามาให้กับแบรนด์
การใช้คะแนนจาก RFM Model ช่วยให้แบรนด์สามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กลุ่มลูกค้าที่อยู่ในประเภท Hibernating, About to Sleep, Promising, At Risk, Loyal, และ Champions ซึ่งการแบ่งกลุ่มนี้จะช่วยให้แบรนด์สามารถวางกลยุทธ์การดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าได้ตรงเป้าหมายยิ่งขึ้นผ่าน LINE Official Account
วิธีจัดการข้อมูลลูกค้าบน LINE OA
ประเภทของข้อมูลลูกค้า
ในเชิงการตลาดข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. First-party Data
First-party Data คือ ข้อมูลที่แบรนด์หรือองค์กรเก็บรวบรวมเองโดยตรงจากลูกค้า ซึ่งมาจากการซื้อสินค้า ใช้บริการ หรือการติดต่อผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น ข้อมูลจากระบบ CRM, Cookies บนเว็บไซต์ของร้านค้า หรือบันทึกการสนทนาทางโทรศัพท์ ข้อมูลเหล่านี้มีความแม่นยำสูงและเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้แบรนด์เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
2. Second-party Data
Second-party Data คือ ข้อมูลที่มาจากการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายกับองค์กรอื่น ซึ่งเป็นข้อมูล First-party Data ขององค์กรนั้น เช่น ข้อมูลจากการรีวิวสินค้า, ข้อมูลจากเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น (User-generated content), หรือข้อมูลจากการสำรวจในสถานที่ต่าง ๆ การใช้ข้อมูลประเภทนี้ช่วยให้แบรนด์ขยายขอบเขตการเข้าถึงลูกค้าและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายยิ่งขึ้น
3. Third-party Data
Third-party Data คือ ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมจากหลายแหล่งโดยองค์กรอื่น ซึ่งไม่ได้เก็บรวบรวมด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลทั่วไปที่ใช้ในการวิเคราะห์ตลาด หรือการทำความเข้าใจเทรนด์ผู้บริโภคในภาพรวม ข้อมูลนี้ช่วยให้แบรนด์เห็นแนวโน้มและพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าในภาพรวมระดับกว้าง
ประเภทข้อมูลที่ถูกจัดเก็บบน LINE
LINE Official Account (LINE OA) เป็นแพลตฟอร์มที่เน้นการรวบรวม First-party data ซึ่งหมายถึงข้อมูลที่แบรนด์เก็บรวบรวมจากลูกค้าโดยตรงบน LINE เอง ไม่ต้องพึ่งพาองค์กรอื่นหรือเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้
ทำไม First-Party Data จาก LINE จึงสำคัญ?
เหตุผลที่ First-party data มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เป็นเพราะว่า
- กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เข้มงวดขึ้น บริษัทต่างๆ จึงหันมาให้ความสำคัญกับการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าเอง (First-party data) บน LINE OA มากขึ้น กฎหมายดังกล่าวยังสร้างข้อจำกัดในการเข้าถึง 2nd หรือ 3rd-Party Data ทำให้ข้อมูลลูกค้าไม่เพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ในเชิงการตลาด
- ฐานข้อมูลลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ แบรนด์จึงต้องมีการการเก็บ First-Party Data บน LINE ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ เบอร์โทร อีเมล หรือพฤติกรรมการใช้งานต่าง ๆ LINE เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation) ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เพื่อที่จะพัฒนากลยุทธ์การตลาดจูงใจลูกค้าได้อย่างตรงจุด
- LINE เป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์หันมาให้ความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะในยุค Cookieless World ที่ Data หายากขึ้นทุกวัน LINE จึงเป็นแพลตฟอร์มหลักที่ช่วยเก็บ 1st Party Data ของลูกค้า จนทำให้มีการคาดการณ์ว่าจะมียอดการใช้เงินที่เพิ่มมากขึ้น (ข้อมูลจาก Ad Addict)
แนะนำเครื่องมือเก็บข้อมูลลูกค้าบน LINE
LINE มีระบบเก็บข้อมูลลูกค้า (First-party Data) ในระดับพื้นฐาน ซึ่งเพียงพอสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและกลาง หากเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เราแนะนำให้ใช้เครื่องมือการตลาดเสริม เพื่อเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกและจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าบน LINE
ฟังก์ชันพื้นฐานจาก LINE OA
แบรนด์สามารถเข้าไปดูการวิเคราะห์ข้อมูลของบัญชีทางการ LINE โดย log in เข้าสู่ระบบ LINE OA แบรนด์คุณ แล้วคลิก “ข้อมูลเชิงลึก” ซึ่งจะแสดงข้อมูลเชิงลึก ดังนี้
- ข้อความ: สามารถดูสถิติข้อความประเภทต่างๆ ที่ส่งไป
- เพื่อน: แสดงสถิติการเพิ่มเพื่อน, target reach ที่แบรนด์สามารถส่งข้อความถึงได้ แสดงจำนวนการบล็อก และข้อมูลส่วนตัว (เพศ, อายุ, ภูมิภาค) สำหรับเลือกในการบรอดแคสต์ข้อความ
- แชท: สามารถดูจำนวน Active chat ในระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงจำนวนผู้ใช้งานที่ได้รับข้อความ และข้อความที่ถูกส่งเข้ามา
MAAC I ระบบ LINE CRM เก็บฐานข้อมูลลูกค้า
MAAC คือระบบ LINE CRM จาก Crescendo Lab ที่ช่วยคุณเก็บข้อมูลลูกค้า เพื่อวิเคราะห์และต่อยอดการตลาดเฉพาะบุคคล (Personalized Marketing) ได้อย่างแม่น โดยมี 7 ฟีเจอร์ที่ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้า ดังนี้
1. ผสานแบบสอบถามออนไลน์ Survey Cake
SurveyCake เป็นแพลตฟอร์มแบบสอบถามออนไลน์ที่นิยมใช้ในการสำรวจความต้องการของลูกค้า Crescendo Lab ผู้เชี่ยวชาญด้าน LINE Marketing Solution ได้ร่วมมือกับ SurveyCake โดยปรับการแจกรางวัลผ่าน SMS, Email, และ LINE เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานตอบแบบสอบถามอย่างตรงไปตรงมา
จุดเด่นของ SurveyCake คือ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า โดยแบรนด์สามารถชวนลูกค้าเพิ่มเพื่อนใน LINE เพื่อรับของรางวัลหลังตอบแบบสอบถามเสร็จ ซึ่งระบบของ Crescendo Lab จะส่งรางวัลหรือคูปองส่วนลดให้ลูกค้าโดยอัตโนมัติ
2. เชื่อมต่อกับ Google Analytics (GA)
หากข้อมูลจาก LINE OA ยังไม่เพียงพอสำหรับการวางแผนกลยุทธ์ แบรนด์สามารถเชื่อมบัญชี LINE กับ Google Analytics (GA) ผ่าน แพลตฟอร์มการตลาด MAAC วิธีนี้ช่วยให้แบรนด์ติดตามพฤติกรรมลูกค้าบนเว็บไซต์ และรายงานผลแคมเปญแบบ real-time เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างแม่นยำ
3. ใช้ LINE UTM ติดตามข้อมูลเชิงสถิติ
เมื่อแบรนด์คุณเชื่อมต่อระบบ MAAC กับ GA4 แล้ว Crescendo Lab ยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงข้อมูลเชิงสถิติในรูปแบบ LINE UTM เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมและประสิทธิภาพของกิจกรรมการตลาดได้อย่างละเอียดมากขึ้น
4. ติด Auto-Tag เพื่อกรองกลุ่มเป้าหมาย
แบรนด์สามารถติดแท็กให้กับเพื่อนบน LINE โดยอัตโนมัติผ่านแพลตฟอร์ม MAAC เพื่อกรองกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อแบรนด์ติดแท็กในสินค้าที่ลูกค้าสนใจ ระบบจะส่งข้อความตามเวลาที่กำหนด เช่น โปรโมชัน, แบบสำรวจความพึงพอใจ, หรือการแนะนำสินค้าใหม่ในหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง การทำงานนี้ช่วยสร้าง Personalized Customer Journey แบบรู้ใจลูกค้า
5. ฟีเจอร์วิเคราะห์ความเข้มข้นของแท็กบน LINE
ฟีเจอร์ “ความเข้มข้นของแท็ก” ของ MAAC ช่วยให้แบรนด์กรองลูกค้าที่ถูกติดแท็กเดียวกันซ้ำๆ ออกจากลูกค้าที่ถูกติดแท็กเพียงครั้งเดียว ซึ่งยิ่งลูกค้ามีความเข้มข้นของแท็กใดแท็กหนึ่งสูง แสดงว่าพวกเขามีความสนใจในหมวดหมู่สินค้าที่ถูกแท็กมากขึ้น ทำให้แบรนด์สามารถส่งข้อความกระตุ้นการขายได้อย่างตรงจุด
ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้ A ซื้ออุปกรณ์สำนักงาน ระบบจะติดแท็ก “ช้อปอุปกรณ์ทำงาน” โดยอัตโนมัติ เมื่อแบรนด์ต้องการกระตุ้นการขายอุปกรณ์สำนักงาน ก็จะสามารถใช้ฟีเจอร์นี้เข้าถึงลูกค้าที่มีความสนใจในหมวดหมู่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแท็กส่วนบุคคล
แม้ว่า LINE OA จะมีฟังก์ชัน Chat Tag ที่ช่วยแบรนด์คุณแบ่งกลุ่มเพื่อนตามข้อมูลพื้นฐาน เพื่อให้แบรนด์ค้นหาลูกค้าได้ง่ายขึ้น แต่ฟังก์ชันนี้ยังมีข้อจำกัดในการวิเคราะห์เชิงลึก
เราจึงแนะนำฟังก์ชัน Auto-Tagging ของ MAAC ที่ช่วยให้คุณติดตามกิจกรรมทางการตลาดและข้อความแบบ Personalized รวมถึงวิเคราะห์แหล่งที่มาของเพื่อนใน LINE เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแท็กส่วนบุคคล และปรับปรุงข้อความการตลาดและการจัดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
7. ฟีเจอร์แบ่งระดับความภักดีของเพื่อนบน LINE
แพลตฟอร์ม MAAC ยังมีฟีเจอร์ให้คุณสร้างแท็กเพื่อประเมินคะแนนความภักดีของลูกค้า โดยแบ่งออกเป็นระดับตามพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและการโต้ตอบของลูกค้าบน LINE เช่น ระยะเวลาทิ้งสินค้าไว้ในตะกร้า การคลิกดูสินค้า ระยะเวลาที่ใช้ในการชำระเงิน ฯลฯ ฟีเจอร์นี้ช่วยให้แบรนด์ระบุได้ว่าลูกค้ารายใดมีมูลค่าสูงและคุ้มค่าต่อการลงทุนในกลยุทธ์การตลาด
เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล Big Data
แพลตฟอร์มการตลาด MAAC มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่และให้บริการลูกค้ามากกว่า 600 แบรนด์ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้สามารถใช้ Big Data ในการพัฒนาโซลูชันการตลาดแบบอัตโนมัติ (Marketing Automation) เพื่อตอบโจทย์องค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีฟีเจอร์ดังนี้
1. คาดการณ์ผู้มีโอกาสซื้อสูง
แบรนด์สามารถใช้ AI และ Big Data ร่วมกับ Google Analytics (GA) ในการคาดการณ์ลูกค้าที่มีโอกาสซื้อสูง แม้ข้อมูลจาก LINE อาจไม่เพียงพอ วิธีนี้จะช่วยกรองลูกค้าบน LINE ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าเร็ว ๆ นี้
2. ฟีเจอร์แนะนำสินค้าอัตโนมัติ (Smart Recommendation)
ฟีเจอร์ Smart Recommendation ของ MAAC จะช่วยแนะนำสินค้าให้ลูกค้าอัตโนมัติเมื่อรู้ว่าลูกค้าคนไหนมีโอกาสซื้อสูง แบรนด์สามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าและโปรโมทสินค้าตามความสนใจเฉพาะรายได้ ด้วยการใช้ฟังก์ชันโฟกัสแท็กหรือ AI เพื่อสร้างข้อความแนะนำสินค้า
ตัวอย่างเช่น GOMAJI แพลตฟอร์มแนะนำร้านอาหาร โรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยวในไต้หวันใช้ฟังก์ชันนี้จนมี CTR สูงถึง 81%
3. ฟีเจอร์ส่งข้อความอัจฉิริยะ (Smart Sending)
ฟีเจอร์ “Smart Sending” ของ MAAC ใช้ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า เพื่อส่งข้อความโปรโมทสินค้าในเวลาที่ลูกค้ามีโอกาสถูกเปิดอ่านและคลิกมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มอัตราการเปิดข้อความ ยังลดอัตราการบล็อกอีกด้วย
4. ตัวบ่งชี้ปฏิสัมพันธ์ของเพื่อนบน LINE
Crescendo Lab ได้พัฒนาแผนภูมิวิเคราะห์ข้อมูลบน LINE OA ไว้หลากหลายรูปแบบ หนึ่งในแผนภูมิที่เป็นประโยชน์ต่อแบรนด์คือ ตัวบ่งชี้ปฏิสัมพันธ์ของเพื่อนบน LINE หลายแบรนด์มักไม่แน่ใจว่าควรทุ่มเงินในการทำการตลาดบน LINE เท่าไหร่จึงจะคุ้มทุน ตัวบ่งชี้ปฏิสัมพันธ์ของเพื่อนบน LINE จึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการรวบรวมข้อมูลลูกค้าทั้งหมดในแต่ละอุตสาหกรรม ทำให้แบรนด์รับรู้ว่าธุรกิจของตัวเองนั้นอยู่ในตำแหน่งใดในอุตสาหกรรมเดียวกัน
5. รวมข้อมูลด้วย Customer Data Platform (CDP)
CDP ช่วยรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากหลายช่องทาง เช่น LINE, SMS, E-commerce และอื่น ๆ ให้เป็นฐานข้อมูลรวม
Crescendo Lab ได้พัฒนาบริการที่ผสานข้อมูลลูกค้าจาก LINE OA และเชื่อมต่อข้อมูลข้ามแพลตฟอร์ม เพื่อให้แบรนด์มองเห็นโปรไฟล์ลูกค้าได้ชัดเจนขึ้นโดยไม่ต้องใช้ทักษะเขียนโค้ดใด ๆ
แชร์ 5 วิธีใช้ LINE กระตุ้นการมีส่วนร่วมของลูกค้า
เพื่อนผู้ติดตามบน LINE จะกลายเป็นลูกค้าคุณภาพ เมื่อมีการปฏิสัมพันธ์ในแคมเปญการตลาดต่าง ๆ ของแบรนด์ มาดูวิธีเพิ่ม Customer Engagement บน LINE อย่างมีประสิทธิภาพกันเลย!
1. สร้าง Dynamic Rich Menu
ริชเมนู คือ เมนูขนาดใหญ่ใต้หน้าจอแชทไลน์ในบัญชีทางการของคุณ โดยแบรนด์สามารถใส่โปรโมชัน แคตตาล๊อกสินค้า แผนที่ร้านค้า ฯลฯ ในเมนูนี้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่ลิงก์ หรือกำหนดแอ็กชั่นเมื่อมีผู้ใช้งานคลิกเมนูต่าง ๆ ได้
เราแนะนำให้แบรนด์ยกระดับ Rich Menu ของ LINE ที่จำกัดเพียง 6 ช่องให้เปลี่ยนเป็นการสร้าง Dynamic Rich Menu ด้วยแพลตฟอร์มการตลาด MAAC เพื่อให้คุณสามารถออกแบบและปรับรูปแบบตามความต้องการได้อย่างอิสระ
2. ฟีเจอร์ Step Message
Step Message คือฟีเจอร์ที่ใช้ส่งชุดข้อความโดยอัตโนมัติ ด้วยการตั้งค่าให้ส่งแต่ละข้อความเมื่อถึงวันที่กำหนดนับจากวันที่เพิ่มเพื่อน โดยข้อความที่คุณกำหนดไว้ล่วงหน้าจะถูกส่งออกไปตามลำดับโดยอัตโนมัติ
เช่น คุณสามารถตั้งค่าให้ส่งคูปองให้ผู้ใช้ที่เพิ่มเพื่อนมาแล้ว 3 วันและส่งข้อความแจ้งรายละเอียดสินค้าให้ผู้ใช้ที่เพิ่มเพื่อนมาแล้ว 15 วัน
ฟีเจอร์นี้จึงช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมของเพื่อนบน LINE จากการได้รับข่าวสาร โปรโมชันอย่างต่อเนื่อง
3. ติด Chat Tag
ฟีเจอร์ Chat Tag เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณจดจำข้อมูลลูกค้าแต่ละราย เช่น ลูกค้าใหม่, ลูกค้า VIP, แอดมินที่ดูแลลูกค้ารายนี้ ฯลฯ โดยคุณสามารถสร้างแท็กได้สูงสุดถึง 200 แท็กในระบบ LINE OA Manager หรือสร้างแท็กได้ไม่จำกัดจำนวนผ่าน MAAC ระบบ LINE CRM จาก Crescendo Lab
ฟีเจอร์นี้ทำให้แบรนด์รู้ข้อมูลลูกค้ารายบุคคล เพื่อกระตุ้นการมีส่วนรวมตามความสนใจลูกค้าได้อย่างตรงจุด และยังช่วยให้ตามหาลูกค้าที่ต้องการได้ง่ายขึ้นจากแท็กต่าง ๆ
4. โพสต์คอนเทนต์ผ่าน LINE VOOM
แบรนด์สามารถสร้างคอนเทนต์เพื่อบทความหรือคลิปที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ผ่าน LINE VOOM วิธีนี้จะช่วยเพิ่ม Engagement และทำให้แบรนด์คุณเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะหากคอนเทนต์ของคุณติดเทรนด์จนมีคนแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก
5. ดึงดูดลูกค้าด้วยเกมส์ (Gamification)
แบรนด์สามารถสร้างเกมด้วยฟีเจอร์ Gamification ไว้บน LINE OA ด้วยแพลตฟอร์มการตลาด MAAC เพื่อดึงดูดใจลูกค้ากระตุ้นการมีส่วนร่วมทั้งหน้าร้านออฟไลน์และช่องทางออนไลน์ โดยคุณสามารถเลือกเกมให้ลูกค้าร่วมสนุกได้ถึง 4 เกม ได้แก่ กาชาปอง รูเล็ต เซียมซี และเกมเศรษฐี
แชร์ 5 วิธีใช้ LINE เพิ่มยอดขาย
ยอดขาย คือ พลังขับเคลื่อนที่ทำให้ธุรกิจเติบโต LINE OA มาพร้อมฟีเจอร์มากมายที่ช่วยกระตุ้นยอดขาย แม้ว่าจะมีหลายฟีเจอร์ที่ให้บริการฟรี แต่ก็มักมีข้อจำกัดบางอย่าง เพื่อให้ยอดขายพุ่งทะยาน แบรนด์ควรพิจารณาใช้เครื่องมือการตลาดเสริมอย่าง MAAC เพื่อผลักดันการเติบโตอย่างก้าวกระโดด!
พบกับ 5 ฟีเจอร์แนะนำเพิ่มประสิทธิภาพการขาย:
1. สร้าง Coupon ดึงดูดลูกค้า
การใช้ LINE Coupon มอบส่วนลดหรือโปรโมชันพิเศษให้แก่เพื่อนบน LINE เป็นวิธีที่กระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อที่ได้ผลจริง เนื่องจากสิทธิพิเศษต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับความคุ้มค่า ซึ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้าซ้ำ รวมทั้งยังเพิ่มแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าหรือบริการอื่นๆ เพิ่มเติม
แบรนด์คุณยังสามารถเพิ่มความสนุกให้ลูกค้าด้วยรางวัลหลากหลายด้วยเครื่องมือการตลาด MAAC แจก LINE Points, คูปองเกม, คะแนนสะสม หรือส่วนลดสุดพิเศษได้ง่าย ๆ แถมลูกค้ายังสามารถใช้คูปองเหล่านี้ได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ช่วยกระตุ้นยอดขายและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าอีกด้วย
2. ฟีเจอร์ Reward Cards
คุณสามารถใช้บัตรสะสมแต้ม (Reward Cards) ใน LINE ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำและเพิ่มโอกาสสร้างลูกค้าประจำ เพราะลูกค้าจะได้รับแต้มสะสมเมื่อซื้อสินค้าหรือมาใช้บริการที่ร้านคุณ
ข้อดีของฟีเจอร์นี้คือลูกค้าเพียงแค่เปิด LINE ก็สะสมแต้ม หรือรับของรางวัลได้เลย ซึ่งใช้งานสะดวกสบายสำหรับทั้งร้านค้าและลูกค้า
3. สร้าง Customer Journey ให้ลูกค้าประทับใจ
Customer Journey คือ จุดสัมผัสต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องเจอตลอดกระบวนการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ตั้งแต่การรับรู้หรือรู้จักแบรนด์ครั้งแรกไปจนถึงการใช้บริการหลังการขาย ดังนั้นหากแบรนด์สามารถทำให้ลูกค้าประทับใจในทุกจุดสัมผัสก็จะเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้อย่างง่ายดาย
แบรนด์ควรสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มอย่างแม่นยำ การสร้าง Customer Journey แบบอัตโนมัติด้วย MAAC จึงตอบโจทย์ เพราะเป็นเครื่องการตลาดแบบครบวงจรที่มีหลายฟีเจอร์ อย่าง Auto-Tag ที่ช่วยแบ่งกลุ่มลูกค้าโดยอัตโนมัติตามพฤติกรรมการคลิกบน LINE
4. กระตุ้นการซื้อซ้ำด้วยกลยุทธ์รีมาร์เก็ตติ้ง
คุณสามารถทำรีมาร์เกตติ้งตะกร้าสินค้าได้ง่าย ๆ ด้วยการตั้งค่า Customer Journey บนแพลตฟอร์ม MAAC
ฟีเจอร์นี้ออกแบบมาเพื่อช่วยแบรนด์ E-commerce รับมือกับสถานการณ์ที่ลูกค้าเพิ่มสินค้าในตะกร้า แต่ยังลังเลไม่ตัดสินใจซื้อ ด้วยการส่งคูปองหรือข้อเสนอพิเศษในเวลาที่เหมาะสม ช่วยกระตุ้นการซื้อและเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ!
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ LINE Remarketing ได้ที่นี่
5. ฟีเจอร์ AI Smart Sending ส่งโปรโมชันในเวลาที่ใช่
Smart Sending คือฟีเจอร์อัจฉริยะใน MAAC ที่ใช้ AI วิเคราะห์และคาดการณ์เวลาที่ดีที่สุดในการส่งข้อความถึงลูกค้าแต่ละคน ช่วยเพิ่มโอกาสให้ข้อความของแบรนด์ถูกเปิดอ่านมากขึ้น
เมื่อข้อความโปรโมชันถูกส่งถึงลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม โอกาสที่ลูกค้าจะสนใจและเปิดอ่านก็ยิ่งสูงขึ้น ทำให้การขายสินค้าหรือบริการของแบรนด์ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
เคล็ดลับทิ้งท้าย
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ? เชื่อว่าทุกคนที่อ่านมาถึงตรงนี้คงได้เทคนิคดี ๆ ในการใช้ LINE OA ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งเก็บข้อมูลลูกค้า กระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้ติดตาม และเพิ่มยอดขายให้แบรนด์คุณ สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจบน LINE ให้ลูกค้า เราขอแนะนำแพลตฟอร์มการตลาดอัตโนมัติอย่าง MAAC และโปรแกรมรวมแชท CAAC จาก Crescendo Lab ที่จะช่วยให้คุณพิชิตใจลูกค้าด้วยการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด
คุณสามารถมั่นใจในศักยภาพของสองเครื่องมือส่งเสริมการตลาดนี้ได้ด้วยการันตีจากการได้รับเลือกเป็น LINE Gold Tech Partner 2024 เพียงเจ้าเดียวในประเทศไต้หวัน และได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ชั้นนำกว่า 600 แห่งทั่วโลก!
อ้างอิงข้อมูลจาก
- LINE for Business
- LINE Shopping
- LINE Official Account Manager
กรอกข้อมูลเพื่อปรึกษาวิธีเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจผ่าน LINE
Ainee S.
Thai Content Marketer at Crescendo Lab (-: