Go Back Up

back to blog

CRM คืออะไร มีอะไรบ้าง เจาะลึกประโยชน์ของ CRM ต่อธุรกิจ

MarTech Trends • 24 พ.ย. 2023, 15:10:10 • Written by: Ainee S.

อย่าลืมกดติดตาม Crescendo Lab สำหรับสาระน่ารู้ในแวดวง MarTech!

Customer Relationship Management หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CRM คือ การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อรักษาลูกค้าเดิมให้กลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ และยังรวมไปถึงการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าใหม่ที่เข้ามา ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ CRM คือ ระบบการจัดการที่จะช่วยให้แบรนด์คุณสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์คุณนั่นเอง

ความก้าวไกลของเทคโนโลยีและ Digital Transformation ทำให้หลายองค์กรตัดสินใจใช้ระบบซอฟต์แวร์เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหลายท่านอาจคุ้นเคยกับคำว่า CRM ที่อยู่ในรูปแบบแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์

💡Fun Fact: รู้หรือไม่? การหาลูกค้าใหม่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการรักษาลูกค้าเดิมถึง 5 เท่า! (CRM จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยองค์กรรักษาลูกค้าเดิมนั่นเอง)

customer-retentionby ted goff

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ 👇

CRM คืออะไร?

เมื่อกล่าวถึง CRM หลายท่านอาจนึกถึงระบบซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งที่ใช้ภายในองค์กร ดังนั้น CRM หรือ  Customer Relationship Management จึงหมายถึง ระบบซอฟต์แวร์ที่องค์กรใช้จัดเก็บข้อมูลของลูกค้าปัจจุบันที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการธุริกจใจธุรกิจหนึ่ง โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกรวบรวมไว้ใน CRM แพลตฟอร์มเดียว ซึ่งเป็นการสร้างข้อได้เปรียบให้กับธุรกิจ เนื่องจากจะช่วยให้องค์กรเกิดความเข้าใจที่ตรงกันกับทุกฝ่าย ทำให้ Customer Journey ของลูกค้ามีความราบรื่น ไร้ข้อผิดพลาด

CRM ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความประทับใจ ความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า จนกระทั่งพัฒนาเป็นความสัมพันธ์อันดีระยะยาว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มลูกค้าที่มีศักยภาพในการซื้อสินค้าหรือบริการ เพิ่ม conversion rate และเพิ่ม Customer’s Lifetime Value (CLV) ให้องค์กรอย่างยั่งยืน

CRM มีอะไรบ้าง มีกี่ประเภท

ในบทความนี้เราจะพูดถึง 4 ประเภทหลักของ CRM โดยแบ่งตามการใช้งาน ได้แก่

1. Operational CRM

เป็น CRM ที่เน้นเรื่องการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าหน้าบ้าน มีเป้าหมายเพื่อใช้ระบบอัตโนมัติให้ทำงานแทนงานซ้ำๆ จำเจ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดเวลาให้กับทีม หน้าที่หลักของ CRM ประเภทนี้คือ การดึงดูดผู้บริโภคที่สนใจสินค้าหรือบริการให้กลายลูกค้าที่มีโอกาสซื้อในอนาคต

มีรูปแบบดังนี้

  • Marketing automation เช่น แคมเปญอีเมล การส่งข้อความ SMS
  • Sales automation เช่น การให้คะแนนลูกค้าเพื่อจัดอันดับ leads ซึ่งช่วยลดความยุ่งยากจากเอกสารกระดาษ และยังช่วยให้ฝ่ายขายพยากรณ์ยอดขายได้แม่นยำ
  • Service automation เช่น แบบประเมินความพึงพอใจ

2. Analytical CRM

เป็น CRM ที่เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลหลังบ้าน โดยมีเป้าหมายเพื่อปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกให้สร้างเป็นยอดขายในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่หลักในการจัดการวงจรชีวิตของลูกค้าและขับเคลื่อนยอดขายให้เติบโต

3. Collaborative CRM

CRM ประเภทนี้เน้นการทำงานร่วมกันของหลายฝ่ายในองค์กร มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อและสื่อสาร เนื่องจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถเห็นข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกัน นอกจากจะช่วยรวมข้อมูลที่ถูกเก็บแบบกระจายหลายๆ ที่แล้ว ยังทำให้ทีมทำงานร่วมกันได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

4. Social CRM

Social CRM เป็นระบบเน้นการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าในองค์กรที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นแพลตฟอร์มหลัก เช่น LINE, Instagram, Facebook ฯลฯ เป้าหมายหลัก คือ การช่วยให้ทีมสามารถปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในสื่อออนไลน์ได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่จะอำนวยความสะดวกให้องค์กรเก็บข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในระบบเดียว

ประโยชน์ของ CRM ต่อธุรกิจยุคดิจิทัล

CRM概念 - 1

ระบบ CRM สร้างข้อได้เปรียบมากมายต่อธุรกิจทุกขนาดและอุตสาหกรรม ประโยชน์ของ CRM ที่ช่วยยกระดับให้ธุรกิจคุณอยู่เหนือคู่แข่งมีดังนี้

1. รู้ข้อมูลลูกค้าแบบรอบด้าน 360 องศา 

ระบบ CRM จะช่วยคุณบันทึกข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าแบบรอบด้าน 360° (Customer 360) ไว้ในที่เดียว ตัวอย่างของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมอย่างรอบด้าน เช่น รายชื่อบริษัทลูกค้า, ข้อมูลติดต่อ, ประวัติการซื้อ, ไปจนถึงบทสนทนาโต้ตอบกับลูกค้า ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญในการนำไปประยุกต์ และวางแผนกลยุทธ์ในการทำการตลาดและการขาย เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น 

2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในทีม

CRM มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ทีมของคุณทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าทีมภายในองค์สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาข้อมูลจากหลายที่ เมื่อทีมภายในองค์กรคุณสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกันได้ ก็จะสร้างจุดแข็งให้ทีมสื่อสารกับลูกค้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่งผลให้ลูกค้ามีประสบการณ์การซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ดี

ยิ่งไปกว่านั้นระบบ CRM อย่าง MAAC จาก Crescendo Lab ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมโดยแบรนด์สามารถกำหนดระดับสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของพนักงานแต่ละฝ่ายได้ ระบบ CRM จึงเป็นมิติใหม่ของการบริหารจัดการข้อมูล เพราะจะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานภายในทีมของคุณได้อย่างเห็นผลในระยะยาว

3. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ทำการตลาดได้ง่าย

ข้อมูลลูกค้าเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ล้ำค่าขององค์กร ดังนั้นระบบ CRM จะช่วยให้แบรนด์คุณเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่เก็บได้นั้นก็จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้วางแผนการตลาดได้แม่นยำกว่าเดิม ปัจจุบันได้หมดยุคของการทำการตลาดแบบหว่านแห หลายแบรดน์จึงเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อทำการตลาดแบบรายบุคคล (Personlized Marketingเราจึงแนะนำให้คุณใช้ระบบ CRM ที่มาพร้อมกับฟังก์ชัน Marketing Automation หรือการตลาดแบบอัตโนมัติ เพื่อผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำและง่ายกว่าทำการตลาดแบบดั้งเดิม

เรามีเคสตัวอย่างของแบรนด์ดังระดับโลกในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่าง NISSAN ที่ใช้ CRM เก็บข้อมูลลูกค้าบน LINE OA และทำการตลาดอัตโนมัติได้อย่างเห็นผล นั่นคือแบรนด์สามารถเพิ่มจำนวนผู้ติดตามบนบัญชีทางไลน์ได้มากกว่า 1,000 คนต่อเดือน และเพิ่มอัตราเปิดอ่านข้อความถึง 40%

+

จำนวนผู้ติดตามใหม่ต่อเดือน

%

อัตราเปิดอ่านข้อความ

 

4. ช่วยประหยัดต้นทุนทั้งเวลา

ระบบ CRM ช่วยคุณประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากรได้อย่างเหลือเชื่อ เพราะว่าข้อมูลลูกค้าในระบบแสดงอย่างโปร่งใส ทีมของคุณจึงสามารถเลือกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็วทันใจ ไม่ต้องค้นหาจากหลายแพลตฟอร์มให้เสียเวลา

นอกจากนี้ทุกฝ่ายจะสามารถเข้าใจกระบวนการทำงานของฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้ประหยัดเวลาที่ต้องคอยติดตามการทำงานจากผู้ที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย ที่สำคัญระบบ CRM ยังช่วยตัดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น ทำให้ทีมสามารถโฟกัสเฉพาะกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้บริษัท

5. สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

การใช้ CRM เป็นศูนย์กลางของการจัดการข้อมูลลูกค้าดังที่กล่าวไปข้างต้นจะส่งผลให้ให้ทีมงานของคุณสื่อสารและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าแต่ละรายต้องการได้อย่างแม่นยำ ซึ่งทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจเพราะรู้สึกได้รับการดูแลจากแบรนด์เป็นอย่างดี มีความใส่ใจต่อลูกค้า

เมื่อระดับความพึงพอใจที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์สูง ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำจนเกิด brand loyalty ในระยะยาว การใช้ประโยชน์จากการเก็บข้อมูลลูกค้าในระบบ CRM จึงมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้แบรนด์คุณมอบ customer journey อันน่าประทับใจและสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งในที่สุด

ตัวอย่างของการใช้งาน CRM

MAAC เป็นระบบ CRM คุณภาพที่พัฒนาโดยบริษัท Crescendo Lab โดยระบบ CRM นี้ออกแบบมาเพื่อใช้เก็บข้อมูลลูกค้าบนบัญชีทางการไลน์ (LINE Official Account) ของแบรนด์เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และทำการตลาดแบบ Personalized โดยเฉพาะ

เราจะยกตัวอย่างการใช้งานระบบ LINE CRM ให้คุณเห็นภาพชัดเจน ดังนี้

เจนนี่เป็นผู้ใช้งานท่านหนึ่งโดยเธอมีความต้องการที่จะซื้อไม้เทนนิส เธอจึงค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับไม้เทนนิสแต่ละประเภทบนอินเทอร์เน็ตและกดเข้ามาดูสินค้าบนหน้าเว็บไซต์ของบริษัท C นี่จะเป็นจังหวะที่ระบบ CRM (MAAC) ของบริษัท C จะเริ่มเข้ามามีบทบาท

ฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การทำงานของระบบ CRM
ทีมการตลาด (Marketing) ทีมการตลาดของบริษัท C เห็นว่า เจนนี่เข้ามาดูไม้เทนนิสรุ่น Z ทั้งหมด 20 ครั้งในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางทีมจึงส่งอีเมลอัตโนมัติถึงเจนนี่ เพื่อแจ้งเตือนว่าสุดสัปดาห์นี้จะมีกิจกรรมให้ทดลองสินค้าฟรี
ทีมขาย (Sales) เมื่อเจนนี่มาถึงหน้างานกิจกรรมตามที่ได้โปรโมทไว้ทางอีเมล พนักงานขายก็จะรู้อยู่แล้วว่าเจนนี่ชอบไม้เทนนิสรุ่นไหน ทำให้เธอไม่ต้องเสียเวลาและสามารถทดลองใช้ไม้เทนนิสรุ่นที่สนใจได้ทันที
ทีมบริการลูกค้า (Customer Service) เมื่อเจนนี่กลับถึงบ้านพร้อมไม้เทนนิสอันใหม่ เธอก็ได้รับข้อความบน LINE OA จากบริษัท C เพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลไม้เทนนิสที่เธอเพิ่งซื้อไป และยังมีเจ้าหน้าที่คอยตอบคำถามที่เธอสงสัยตลอดเวลา

หลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ฝ่ายการตลาดก็จะคอยแจ้งเตือนเจนนี่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ตรงกับความต้องการของเธอ เราจึงสรุปได้จากตัวอย่างนี้ว่า CRM สามารถช่วยให้แบรนด์ทำ re-marketing อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาที่พบบ่อยในแบรนด์ที่ไม่ใช้ CRM

CRM เปรียบเสมือนตัวกลางที่ประสานทีมภายในตอนสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างลงตัว มาดูกันว่าแบรนด์ไม่ใช้ระบบ CRM มักพบปัญหาอะไรบ้าง

1. ตอบคำถามลูกค้าได้ยาก

ปัจจุบันหลายองค์กรเลือกที่จะขายสินค้าในหลายช่องทาง (omni-channel) เพื่อมอบประสบการณ์ผู้บริโภค (customer experience) ที่ราบรื่น ทำให้ลูกค้าติดต่อเข้ามาสอบถามในหลายแพลตฟอร์มพร้อมกัน แบรนด์จึงต้องใช้เวลาตอบคำถามเรื่องเดิม ๆ ในช่องทางใหม่ ดังนั้นการทำงานที่ซ้ำซ้อนนี้ทำให้ทีมโต้ตอบลูกค้าให้ครบทุกรายได้ยาก ซึ่งอาจทำให้แบรนด์สูญเสียลูกค้าในที่สุด

2. ทีมสื่อสารกันผิดพลาด

แบรนด์ที่ไม่ยอมลงทุนกับ CRM เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ทีมภายในองค์กรคุณสื่อสารผิดพลาด เพราะข้อมูลลูกค้ากระจัดกระจายทำให้ทีมหลายฝ่ายอาจะเกิดความสับสนว่าข้อมูลไหนเป็นข้อมูลที่อัปเดตใหม่ล่าสุด ระบบ CRM จึงเป็นโซลูชันที่ดีที่เข้ามาช่วยคุณบริหารจัดการข้อมูลมหาศาลอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญคือช่วยให้ทีมภายในองค์กรสื่อสารระหว่างทีมและสื่อสารกับลูกค้าไปในทิศทางเดียวกัน

3. ข้อมูลลูกค้ากระจัดกระจาย

หากแบรนด์คุณไม่มีแพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลลูกค้า ปัญหาชวนปวดหัวที่ตามมาคือ รายชื่อ และข้อมูลสำคัญของลูกค้าจะกระจัดกระจายอยู่ในระบบต่าง ๆ ภายในองค์กรอย่างสะเปะสะปะ นอกจากนี้ยังทำให้เข้าถึงข้อมูลลูกค้าที่ต้องการได้ยาก และสร้าง customer journey ที่ไม่น่าประทับใจให้แก่ลูกค้า

ยกตัวอย่างให้คุณเห็นภาพ แน่นอนว่าพนักงานแต่ละคนมีกระบวนการทำงานต่างกัน เมื่อไม่มีระบบ CRM พนักงานแต่ลคนจึงมีวิธีการบันทึกข้อมูลลูกค้าเป็นของตัวเอง เช่น จดในสมุด บันทึกใน spread sheet หรือคีย์ข้อมูลใน Microsoft Word เมื่อผู้จัดการฝ่ายขายต้องการข้อมูลลูกค้าทั้งหมด ทางทีมจึงต้องเสียเวลารวบรวมข้อมูลใหม่ในที่เดียว แทนที่จะดึงข้อมูลจากระบบ CRM ได้ง่าย ๆ ในแพลตฟอร์มเดียว

4. ทีมบริการลูกค้าทำงานลำบาก

ทีมบริการลูกค้ามีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าเมื่อลูกค้าพบเจอปัญหาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ตัดสินใจซื้อไป เรียกได้ว่า การบริการหลังการขายเป็นตัวชี้วัดสำคัญว่าลูกค้าอยากที่จะใช้บริการแบรนด์ซ้ำหรือไม่เลยก็ว่าได้ เมื่อขาด CRM ทีมบริการลูกค้าจะไม่สามารถติดตามได้ว่า พนักงานคนไหนดูแลปัญหาลูกค้าเคสไหน และเคสนั้นถูกแก้ไปแล้วหรือยัง เราจึงสรุปได้ว่าแบรนด์ที่ไม่ใช้ CRM จะสร้างความลำบากในการทำงานของทีมบริการลูกค้าเพราะไม่สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างทั่วถึงนั่นเอง

ฟีเจอร์เด็ดบน LINE CRM ที่ช่วยแบรนด์คุณเพิ่มยอดขายได้จริง

23_LINE CRM-2

ประเทศไทยมีผู้ใช้งาน LINE มากกว่า 54 ล้านคน นอกจากการทำ LINE Marketing แล้ว ระบบ LINE CRM ก็สำคัญในการดึงดูดลูกค้าใหม่ และเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์ ระบบ MAAC เป็น CRM ที่โฟกัสเรื่องการบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าบน LINE โดยเฉพาะ Crescendo Lab ได้คัดสรร 5 ฟีเจอร์เด็ดที่รับรองว่ามีประโยชน์ต่อธุรกิจคุณแน่นอน

ฟีเจอร์ Deeplink

deeplink-feature

Deeplink เป็นฟีเจอร์เบื้องต้นที่ช่วยให้แบรนด์คุณรู้ว่าลูกค้ากดติดตามบัญชี LINE OA ของคุณจากที่ไหน โดยคุณสามารถสร้าง QR Code หรือ link ได้ในระบบหลังบ้านของ LINE CRM (MAAC) ได้ง่าย ๆ คุณยังสามารถตั้งชื่อแท็กได้เองว่าคิวอาร์โค้ดหรือ deeplink แต่ละอันมาจากการสแกนหรือคลิกในช่องทางใด เมื่อมีผู้ใช้งานสแกนหรือคลิกระบบก็จะแสดงข้อมูลว่ามีกี่คนและใครมาที่สแกนเข้ามา โดยระบบยังแยกให้อีกว่ามีผู้ใช้งานใหม่กี่คน และผู้ใช้งานเดิมกี่คน ได้แก่บัญชีใดบ้าง

ฟีเจอร์ deeplink จึงเปรียบเสมือนประตูด่านหน้าที่คัดกรองข้อมูลลูกค้าตั้งแต่แรก เพื่อช่วยให้แบรนด์คุณทำการตลาดได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น

ฟีเจอร์ Auto-tagging 

หลังจากได้ข้อมูลลูกค้ามาเก็บไว้บนระบบ CRM เป็นที่เรียบร้อย แบรนด์ก็สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้นโดยการทำการตลาดเฉพาะกลุ่ม โดยการส่งบรอดแคสต์หาลูกค้าของแต่ละสาขาผ่านแท็กที่ถูกติดไว้ตอนเพิ่มเพื่อน เพื่อเชิญชวนให้ลูกค้ามาเยี่ยมชม ซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่หน้าร้านได้ยิ่งไปกว่านั้นหากลูกค้าได้ทำการคลิกที่ริชเมนู (Rich Menu) บน LINE OA เพื่อดูสินค้าหรือกิจกรรมต่างๆ ลูกค้าคนนั้นก็จะถูกติดแท็กทันทีที่คลิก ทำให้คุณรู้ว่าลูกค้าแต่ละรายสนใจสินค้าอะไร

ฟีเจอร์ Smart Sending

55.Smart_sending

ระบบ LINE CRM อย่าง MAAC ยังมีฟีเจอร์ Smart Sending ที่ให้แบรนด์สามารถปรับเวลาส่งข้อความให้ลูกค้ารายบุคคลโดยอิงจากกิจกรรมที่ลูกค้ามีส่วนร่วม ระบบจะทำงานโดยอัตโนมัติจากการสำรวจข้อมูลฐานนิยมว่าลูกค้าแต่ละรายมีการเปิดอ่านข้อความช่วงเวลาใดมากที่สุด แล้วระบบก็จะส่งบรอดแคสต์ในช่วงเวลาเพื่อเพิ่มโอกาสการเปิดอ่านข้อความ และนำเสนอสินค้าที่ลูกค้าสนใจในเวลาที่ใช่ที่สุด

ฟีเจอร์ Smart Recommendation

MAAC ระบบ CRM บนไลน์ยังมีฟีเจอร์ที่ให้แบรนด์สามารถนำข้อมูลลูกค้าที่เก็บได้ไปวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ตั้งแต่การเรียกดูสินค้า การเพิ่มสินค้าในตะกร้า การซื้อ ซึ่งจะทำให้ระบบสามารถทำ remarketing แนะนำสินค้าได้ตรงตามความต้องการและยังช่วยเพิ่มโอกาสในซื้อสินค้าและบริการ

ฟีเจอร์เก็บข้อมูลลูกค้าด้วยแบบสอบถามออนไลน์

surveycake

ฟีเจอร์นี้จะช่วยลดความยุ่งยากในการเก็บข้อมูลลูกค้าผ่านแบบสอบถามในรูปแบบกระดาษ ทางแบรนด์สามารถใช้ SurveyCake เก็บข้อมูลลูกค้าผ่านแบบสอบถามออนไลน์ พร้อมมอบสิทธิพิเศษจูงใจให้ลูกค้ากรอกข้อมูลเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าของแบรนด์ อีกทั้งยังนำข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ไปสร้างมูลค่า โดยการใช้ข้อมูลเหล่านั้นวิเคราะห์เพื่อวางแผนการตลาด และกิจกรรมต่างๆให้เหมาะสมกับลูกค้าของทางแบรนด์อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

Success Case: Nissan กับความสำเร็จในการใช้ระบบ LINE CRM

nissan banner

เนื่องจาก NISSAN ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาผสมผสานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจ ทางบริษัทจึงเลือกใช้ระบบ CRM เป็นเครื่องมือหลักเพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคทาง LINE OA

ทาง NISSAN ได้ตัดสินใจจับมือกับ Crescendo Lab เพื่อร่วมมือกันวางแผนแคมเปญเปิดตัวรถรุ่นใหม่ผ่าน LINE OA ด้วยการใช้แพลตฟอร์ม MAAC โดยการใช้ฟังก์ชันมากมาย เช่น “Deeplink” เพื่อดึงดูดผู้ชม, “Surveycake” เพื่อรวบรวมข้อมูลจากทั้งออฟไลน์และออนไลน์ , “Stores near me” ที่เมนูข้อความเพื่อแนะนำลูกค้าให้ไปโชว์รูมที่ใกล้ที่สุด ฯลฯ

การเข้าใจลูกค้าและสื่อสารได้อย่างตรงจุดทำให้ในปี 2022 NISSAN มีเพื่อนเพิ่มบน LINE OA มากกว่า 1,000 คนต่อเดือน และอัตราการเปิดอ่านข้อความสูงถึง 40% ที่มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป

อ่านบทความเต็มของ Nissan Success Case: คลิกเลย

เคล็ดลับทิ้งท้าย

หลังจากที่ได้รู้ว่า CRM คืออะไร, มีประเภทใดบ้าง, และประโยชน์สำคัญที่ CRM มีต่อธุรกิจ จะเห็นได้ว่าระบบซอฟต์แวร์นี้คุ้มค่าแก่การลงทุนหากธุรกิจคุณมองหาความสำเร็จแบบยั่งยืน

ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน LINE ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน Crescendo Lab จึงตั้งใจพัฒนาแพลตฟอร์ม MAAC ขึ้นมาเป็นตัวช่วยให้แบรนด์ทำการตลาดอย่างแม่นยำเพื่อต่อสู้กับการแข่งขันทางธุรกิจอันดุเดือด ซึ่งมาพร้อมกับแพ็คเกจที่หลากหลายโดยคุณสามารถพิจารณาตามความเหมาะสมของแบรนด์คุณ นอกจากนี้เราแนะนำให้ใช้ CRM ควบคู่กับระบบรวมแชท CAAC เพื่อยกระดับการทำงานเป็นทีมภายในองค์ร รวมไปถึงทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

frequently asked questions

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ CRM

1. แบรนด์จะเลือกระบบ CRM ที่เหมาะกับธุรกิจคุณได้อย่างไร?

การเลือก CRM ที่เหมาะสมต้องพิจารณาจากขนาดของธุรกิจ ประเภทของอุตสาหกรรม และความต้องการเฉพาะของบริษัท เช่น หากคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็ก อาจเลือกใช้ CRM แบบปฏิบัติการ (Operational CRM) ที่เน้นการจัดการงานขายและลูกค้า ส่วนธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลซับซ้อนมากขึ้นควรใช้ CRM แบบวิเคราะห์ (Analytical CRM) เพื่อการตัดสินใจที่อิงจากข้อมูล นอกจากนี้ ควรพิจารณาความสามารถในการเชื่อมต่อกับเครื่องมืออื่นๆ ที่ธุรกิจคุณใช้อยู่ เช่น การตลาดทางอีเมล (EDM) หรือโซเชียลมีเดีย เพื่อให้ระบบทำงานอย่างราบรื่น

2. ปัญหาทั่วไปที่พบเมื่อเริ่มใช้งานระบบ CRM คืออะไร?

หนึ่งในปัญหาหลักคือ การทำให้พนักงานยอมรับและใช้งานระบบใหม่ พนักงานอาจไม่เต็มใจเปลี่ยนระบบหากไม่เห็นประโยชน์ในทันที นอกจากนี้ การจัดการข้อมูลที่ไม่ดีหรือการไม่อัปเดตข้อมูลลูกค้าอย่างสม่ำเสมออาจทำให้ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ผิดพลาด อีกปัญหาคือการเชื่อมต่อ CRM กับระบบที่ใช้อยู่เดิม การเลือก CRM ที่ไม่สามารถรวมกับซอฟต์แวร์หรือเครื่องมืออื่นๆ ได้อาจเป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน ดังนั้นแบรนด์ควรเลือกใช้ CRM ที่เชื่อมต่อกับเครื่องมืออื่น ๆ  ได้ เช่น MAAC จาก Crescendo Lab

3. CRM มีบทบาทอย่างไรในการรักษาลูกค้าในระยะยาว?

ระบบ CRM ช่วยให้ธุรกิจติดตามพฤติกรรมและความสนใจของลูกค้าได้ ทำให้สามารถสื่อสารและนำเสนอสินค้าได้อย่างตรงใจลูกค้ามากขึ้น การมีข้อมูลลูกค้าอย่างละเอียดจะช่วยให้ธุรกิจสามารถเสนอโปรโมชันเฉพาะบุคคล ติดตามผลการซื้อที่ผ่านมา และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว การสื่อสารอย่างต่อเนื่องแบบรายบุคคลยังช่วยสร้างความพึงพอใจและทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำในระยะยาว


 

4. CRM กับ ERP ต่างกันอย่างไร?

CRM จะเน้นที่การจัดการข้อมูลลูกค้า เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ และเพิ่มยอดขาย ส่วน ERP จะเน้นที่เรื่องการจัดการกระบวนการทำงานภายในองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนนั่นเอง

 

กรอกข้อมูลเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับ LINE CRM ฟรี


Ainee S.

Thai Content Marketer at Crescendo Lab (-: