Segmentation คืออะไร? วิธีแบ่งกลุ่มลูกค้าอัตโนมัติด้วย AI
CherryNapat

แท็กที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม Crescendo Lab สำหรับสาระน่ารู้ในแวดวง MarTech คลิกเลย!
เคยสังเกตไหมว่าทำไมบางแบรนด์ถึงเข้าใจความต้องการของเราได้อย่างน่าประทับใจ ส่งข้อเสนอหรือโปรโมชันที่ตรงใจเราเหมือนกับรู้จักเรามานาน นั่นเป็นเพราะพวกเขาใช้กลยุทธ์การสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคล (Personalized Experience) นั่นเอง
การจะสร้าง Personalized Experience ที่ดีได้นั้นจะทางแบรนด์ จะต้องเริ่มต้นจากการทำ Segmentation หรือการแบ่งกลุ่มลูกค้า ทำให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้าแต่ละรายอย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะสามารถสร้างสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ได้ตรงกับความต้องการจริงๆ ในทุกๆ กลุ่มลูกค้า
ในยุคที่ข้อมูลลูกค้าล้นมือ AI และ Marketing Automation ได้เข้ามาเปลี่ยนเกมการทำตลาด ทำให้ Segmentation ไม่เพียงแม่นยำขึ้น แต่ยังทำได้แบบอัตโนมัติ ช่วยให้ธุรกิจส่งมอบประสบการณ์ที่ "รู้ใจ" ได้จริง ในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ concept พื้นฐานของ Segmentation และไปจนถึงความสำคัญและขั้นตอนการทำ segmentation ด้วย AI และ marketing automation
Segmentation คืออะไร?
Segmentation คือการแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มๆ โดยพิจารณาจากลักษณะต่างๆ ที่มีความคล้ายกัน เช่น พฤติกรรมการซื้อสินค้า ความชอบ หรือสถานที่ที่พวกเขาอยู่ โดยการทำแบบนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาแคมเปญการตลาดที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น หากลูกค้าแต่ละกลุ่มได้รับประสบการณ์ที่ดีตามความต้องการที่แท้จริง ก็จะเพิ่มโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าได้ดีขึ้น
รู้จักกลยุทธ์ STP – Segmentation, Targeting, Positioning
ในสถานการณ์ที่งบประมาณมีจำกัด การปรับกลยุทธ์การตลาดให้แคบลงเป็นเหมือนการเลือกยิงธนูให้ตรงเป้าหมายมากที่สุด แทนที่จะยิงแบบกระจายไปทั่ว ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด
การวิเคราะห์ STP ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก:
1. Segmentation (การแบ่งกลุ่มลูกค้าในตลาด)
คือ การแบ่งกลุ่มลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ตามลักษณะเฉพาะ เช่น อายุ ความสนใจ พฤติกรรม หรือความต้องการ เพื่อทำให้เราเข้าใจว่าลูกค้าประเภทไหนที่เหมาะกับสินค้าหรือบริการของเรา
2. Targeting (การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย)
หลังจากแบ่งตลาดแล้ว ขั้นตอนนี้คือการเลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีศักยภาพมากที่สุด และเน้นทำการตลาดเฉพาะกลุ่มนั้น เช่น เน้นลูกค้าประเภทที่มียอดซื้อสูงหรือลูกค้าที่มีแนวโน้มกลับมาซื้อซ้ำ
3. Positioning (การวางตำแหน่งทางการตลาด)
ขั้นตอนสุดท้ายคือการกำหนดว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราควรมีภาพลักษณ์แบบไหนในใจของลูกค้า เช่น การสร้างจุดเด่นหรือคุณค่าเฉพาะที่ทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ชัดเจนและแตกต่างจากคู่แข่ง
กลยุทธ์ STP จะช่วยให้แบรนด์สามารถระบุได้ว่าใครคือลูกค้าหลัก และสินค้า/บริการใดที่จะตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้ตรงจุดมากที่สุด ทำให้การทำการตลาดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ช่วยประหยัดงบประมาณ และเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายได้จริง
อ่านข้อมูลฉบับเต็ม : https://blog.cresclab.com/th/stp-marketing
📍Tips:
ใช้ S - Segmentation เพื่อแบ่งกลุ่มลูกค้าที่มีความชอบสินค้าแต่ละตัวของแบรนด์
ใช้ T - Targeting เพื่อวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายต่อในเชิงลึก
สุดท้ายใช้ P - Positioning เพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสินค้าและแบรนด์ ซึ่งจะช่วยสร้างตำแหน่งของแบรนด์ในใจของกลุ่มเป้าหมาย
ประเภทของ Segmentation
การแบ่งกลุ่มลูกค้า (Segmentation) สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภทหลัก ตามระดับความซับซ้อนของข้อมูล (Data Complexity) และความแม่นยำในการแบ่งกลุ่ม (Segmentation Precision) ซึ่งแต่ละประเภทมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ดังนี้:
1.การแบ่ง Segmentation ที่ข้อมูลไม่ซับซ้อน (Low Data Complexity) & ความแม่นยำต่ำ (Low Precision)
เหมาะสำหรับกิจกรรมการตลาดขั้นพื้นฐานที่ต้องการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหญ่ในวงกว้าง แม้จะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้กว้าง แต่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลได้อย่างลึกซึ้ง
ตัวอย่างการแบ่ง Segmentation
- Geographic Segmentation : การแบ่งกลุ่มตามภูมิศาสตร์ เช่น ประเทศ จังหวัด หรือเขตเมือง
- Demographic Segmentation : การแบ่งกลุ่มตามข้อมูลประชากร เช่น อายุ เพศ รายได้ หรือระดับการศึกษา
2.การแบ่ง Segmentation ที่ข้อมูลไม่ซับซ้อน (Low Data Complexity) & ความแม่นยำสูง (High Precision)
เน้นการตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะของลูกค้า หรือคุณค่าของสินค้าและบริการ ช่วยเพิ่มความน่าสนใจและกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ อย่างไรก็ตาม หากต้องการปรับแต่งกลยุทธ์ให้ละเอียดขึ้นอาจจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเพิ่มเติม
ตัวอย่างการแบ่ง Segmentation
- Consumer Segmentation: การแบ่งกลุ่มตามลักษณะของผู้บริโภค เช่น พฤติกรรมการซื้อ หรือรูปแบบการใช้งาน
- Benefit Segmentation: การแบ่งกลุ่มตามประโยชน์ที่ลูกค้าคาดหวัง เช่น ความคุ้มค่า คุณภาพ หรือความสวยงามของสินค้า
3.การแบ่ง Segmentation ที่ข้อมูลซับซ้อน (High Data Complexity) & ความแม่นยำต่ำ (Low Precision)
มุ่งเน้นการแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรมการใช้สื่อของลูกค้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม แม้ว่าจะช่วยในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น แต่ยังขาดความสามารถในการปรับแต่งข้อความทางการตลาดให้เฉพาะเจาะจงในระดับบุคคล
ตัวอย่างการแบ่ง Segmentation
- Media Segmentation: การแบ่งกลุ่มตามช่องทางสื่อที่ลูกค้าใช้งาน เช่น โซเชียลมีเดีย อีเมล หรือสื่อโทรทัศน์
4. ข้อมูลซับซ้อน (High Data Complexity) ความแม่นยำสูง (High Precision) ⭐
เป็นการแบ่งกลุ่มลูกค้าที่ผสานข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อนำมาวิเคราะห์อย่างเจาะลึก สามารถสร้างประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคล (Personalization) ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสำหรับการดึงดูดลูกค้าใหม่และเพิ่มอัตราการแปลง (Conversion Rate) ได้อย่างยอดเยี่ยม
ตัวอย่างการแบ่ง Segmentation
- Behavioral Segmentation: การแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรมของลูกค้า เช่น การคลิก การซื้อซ้ำ หรือการตอบสนองต่อแคมเปญPsychographic Segmentation: การแบ่งกลุ่มตามทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ ความเชื่อ หรือค่านิยมส่วนบุคคล
การเลือก Segmentation ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ
การเลือกประเภทของ segmentation ที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการตลาดและทรัพยากรข้อมูลที่ธุรกิจมี หากต้องการเข้าถึงลูกค้าอย่างลึกซึ้งและสร้างแคมเปญที่มีประสิทธิภาพสูง การใช้ High Data Complexity ร่วมกับ High Precision จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าและผลักดันยอดขายได้อย่างมีประสิทธิผลมากที่สุด
ข้อจำกัดของการทำ Segmentation แบบดั้งเดิม
เมื่อพูดถึงการแบ่งกลุ่มลูกค้าแบบดั้งเดิม เรามักนึกถึงข้อมูลอย่างที่อยู่ อาชีพ หรือเพศ ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า คนในกลุ่มเดียวกันจะมีพฤติกรรมเหมือนกัน
แต่ความจริงแล้ว แม้แต่คนที่ทำงานในตำแหน่งเดียวกัน เช่น CEO หรือ Sale ก็อาจไม่ได้มีวิธีคิดหรือวิธีใช้ชีวิตที่เหมือนกันทั้งหมด การตลาดที่อิงจากสมมติฐานนี้จึงอาจพลาดเป้าหมายได้ง่าย
Segmentation แบบดั้งเดิมเป็นคอนเซปต์การตลาดที่สำคัญในอดีตมาตั้งแต่ปี 1956 แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการตลาด และ AI ได้เข้ามายกระดับวิธีการแบ่งกลุ่มลูกค้า หรือ Segmentation ให้เหนือชั้นและแม่นยำมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก การแบ่งกลุ่มลูกค้าของแบรนด์จึงต้องพัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยีการตลาดใหม่ ๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการแข่งขันทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น
การทำ Segmentation ด้วย AI และ Marketing Automation สำคัญอย่างไรในยุคปัจจุบัน
ปัจจุบัน AI และ Marketing Automation ช่วยให้การทำ Segmentation ทำได้แม่นยำและรวดเร็วขึ้น ไม่ยึดติดกับสมมติฐานเก่า ๆ แต่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามตลาดและพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การแบ่งกลุ่มลูกค้าด้วย AI จะช่วยตัดสมมติฐานแบบเหมารวมทิ้ง และช่วยให้เราเข้าใจความซับซ้อนของพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถกำหนดเป้าหมายลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับกลยุทธ์การตลาดได้ทันที ช่วยประหยัดเวลาและลดความผิดพลาดจากการทำงานแบบ manual
ตัวอย่างการใช้ AI ทำ segmentation ปัจจุบันคือแพลตฟอร์มการโฆษณาดิจิทัล เช่น Google Ads ที่นำ AI มาใช้ช่วยเลือกกลุ่มเป้าหมายได้แบบอัตโนมัติ
ประโยชน์ของการทำ Segmentation ด้วย AI
เข้าใจพฤติกรรมลูกค้ามากขึ้น
การแบ่งกลุ่มลูกค้าช่วยให้ธุรกิจเข้าใจว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มมีพฤติกรรมและความต้องการอย่างไรบ้าง แต่การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI จะช่วยให้คุณได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น เช่น ลูกค้าชอบเปิดอ่านข้อความเวลาใด ชอบสินค้าแบบไหน หรือแม้แต่แนวโน้มในการซื้อครั้งถัดไป ทำให้คุณออกแบบประสบการณ์เฉพาะบุคคลที่แม่นยำขึ้นและตอบโจทย์ยิ่งกว่า
พัฒนากลยุทธ์การตลาดตรงความต้องการลูกค้า
คุณสามารถพัฒนากลยุทธ์การตลาด โดยใช้การส่งข้อความโปรโมชันไปยังลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ในช่วงเวลาที่พวกเขามีแนวโน้มจะคลิกสูงสุด ด้วยเครื่องมือ AI ผ่านฟีเจอร์ AI-Smart Sending และ AI-Smart Product Recommendation หรือ Dynamic Product Messaging (DPM) ทำให้การพัฒนากลยุทธ์การตลาดแบบ personalized marketing ผ่านลูกค้าแต่ละ segmentation กลายเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพสูงสุด
เสริมสร้าง Brand Loyalty ความภักดีต่อแบรนด์
ลูกค้าจะภักดีต่อแบรนด์ที่เข้าใจความต้องการของพวกเขาอย่างลึกซึ้ง ลองคิดดูว่าหากแบรนด์สามารถแนะนำสินค้าได้ตรงใจทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชันพิเศษหรือเนื้อหาที่พวกเขากำลังให้ความสนใจพอดี ก็ยิ่งทำให้เกิดความประทับใจ และความสนใจอยากติดตามแบรนด์ ความภักดีของลูกค้าจะตามมาเองโดยธรรมชาติ การมอบ personalized experience ผ่านลูกค้าแต่ละ segmentation จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้าง Brand Loyalty ได้
เปิดโอกาสให้แบรนด์เจอฐานลูกค้ากลุ่มใหม่
AI ช่วยให้คุณค้นพบกลุ่มลูกค้าใหม่ที่อาจไม่เคยคาดคิดมาก่อน ด้วยการจับคู่ข้อมูลและพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน ทำให้คุณสามารถสร้างแคมเปญที่ตรงเป้าหมายเพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพิ่มยอดขายและกำไร
การใช้ข้อมูลจาก AI เพื่อทำ Segmentation ช่วยให้คุณสามารถสร้างแคมเปญที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ลดการยิงโฆษณาที่ไม่จำเป็น และเพิ่มโอกาสในการขายได้อย่างมหาศาล
ขั้นตอนการทำ segmentation อัตโนมัติด้วย AI

1. การเก็บข้อมูลลูกค้า (Data collection)
การรวมข้อมูลลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ จัดการข้อมูลให้พร้อมใช้งาน เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการทำ Segmentation โดยเราสามารถใช้เครื่องมือที่ช่วยเก็บและจัดเตรียมข้อมูลแบบอัตโนมัติด้วยระบบ AI และ Marketing Automation สามารถเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลหลายแห่งได้แบบ Real-time เช่น
- ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อ จากแพลตฟอร์มเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ
- ข้อมูลจาก action ของลูกค้าในช่องทางต่าง ๆ อย่าง LINE Official Account, Facebook, SMS, etc.
- ข้อมูลทั่วไปลูกค้า และความสนใจ จากแบบฟอร์มสมัครสมาชิกหรือโปรไฟล์ลูกค้า
ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ AI-enhanced customer data hub (CDH) หรือ CDP จะช่วยรวมศูนย์ข้อมูลลูกค้าจากแหล่งที่มาหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมเสริมข้อมูลด้วยโมเดล AI เพื่อสร้างมุมมองแบบ Customer 360 profile ที่สมบูรณ์และแม่นยำ ทำให้ธุรกิจสามารถเข้าใจพฤติกรรม ความชอบ และความต้องการของลูกค้าในเชิงลึก พร้อมสำหรับการนำไปใช้ในขั้นตอนถัดไป
2.กำหนดเป้าหมายในการแบ่งกลุ่ม
วางเป้าหมายธุรกิจให้ชัดเจน พร้อมตัวชี้วัดที่จะใช้วัดผลสำเร็จของการทำ Segmentation โดยเราอาจกำหนดแผนกลยุทธ์การติดแท็กข้อมูลลูกค้า หรือทำ Tagging strategy เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการแยกหมวดหมู่ลูกค้าออกเป็นกลุ่มใด เมื่อลูกค้าทำ action ใดบ้าง เพื่อให้เครื่องมือช่วยติดแท็กอัตโนมัติ
3.เลือกเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดอัตโนมัติด้วย AI
เลือกแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ธุรกิจ ตั้งค่าการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ใช้เครื่องมือช่วยในการติดแท็กข้อมูลลูกค้า ตาม Tagging strategy ที่วางไว้
4. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI (AI-Data analysis)
เมื่อข้อมูลถูกจัดเก็บในที่เดียว AI จะเริ่มทำงานด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหารูปแบบพฤติกรรมและความสัมพันธ์กันที่อาจมองไม่เห็นด้วยมุมมองโดยทั่วไป ตัวอย่างเช่น
- ใช้ RFM Analysis เพื่อจัดลำดับลูกค้าตามมูลค่าและความถี่ในการซื้อ
- ใช้ Clustering Algorithm เพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มโดยอิงตามพฤติกรรมที่คล้ายกัน
- ใช้ Predictive Modeling เพื่อคาดการณ์การกระทำต่อไปของลูกค้า
การวิเคราะห์นี้ช่วยให้การแบ่งกลุ่มลูกค้ามีความแม่นยำยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาดจากการประเมินแบบดั้งเดิม และสร้างกลุ่มเป้าหมายที่มีมูลค่าสูงสำหรับการทำการตลาด
5. การวางแผนกลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategies)
เมื่อได้กลุ่มลูกค้าที่แบ่งออกตามข้อมูลเชิงลึกแล้ว ธุรกิจสามารถใช้ Marketing Automation เพื่อสร้างแคมเปญแบบอัตโนมัติที่ตรงเป้าหมาย
ตัวอย่างเช่น หากลูกค้ากลุ่มหนึ่งมีแนวโน้มซื้ออาหารแมวในทุกๆช่วงสิ้นเดือน เราสามารถใช้เครื่องมือ AI และ Marketing automation เพื่อแบ่งกลุ่ม Segmentation ลูกค้าที่เลี้ยงแมว และเคยกดสั่งซื้อสินค้าประเภทอาหารแมวยี่ห้อ A ทุกสิ้นเดือน จากนั้นทางแบรนด์สามารถวางแผนส่งโปรโมชันอาหารแมวตามยี่ห้อโปรดเฉพาะบุคคลในช่วงเวลานั้นโดยอัตโนมัติเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าซ้ำในทุกๆ เดือน
ตัวอย่างการใช้ AI และ marketing automation ทำ segmentation
AI Smart segmentation
เป็นฟีเจอร์การใช้ AI เพื่อ ค้นหากลุ่มลูกค้าที่ใช่ ด้วยอัลกอริทึมของ AI for marketing และ Machine learning จะแบ่งลูกค้าออกเป็น 1 ถึง 5 ระดับของการมีส่วนร่วม ซึ่งสามารถช่วยทำนายและคาดการณ์แนวโน้มของลูกค้าที่จะซื้อสินค้าหรือใช้บริการมากสุดภายในช่วง 2 สัปดาห์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ ทำให้แบรนด์มั่นใจและสามารถกำหนดเป้าหมายของผู้ซื้อที่มีศักยภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
AI-Smart recommendation (DPM)
เป็นฟีเจอร์การใช้ AI เพื่อแนะนำสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนตามพฤติกรรมและความสนใจ โดย AI จะช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า ตั้งแต่การเรียกดูสินค้า การเพิ่มสินค้าในตะกร้า การซื้อ ซึ่งจะทำให้ระบบสามารถแนะนำสินค้าได้ตรงตามความต้องการและยังช่วยเพิ่มโอกาสในซื้อสินค้าและบริการ
AI-Smart sending
เป็นฟีเจอร์การใช้ AI และระบบ Marketing automation เพื่อช่วยวิเคราะห์และคาดการณ์เวลาการส่งข้อความที่เหมาะสมให้กับลูกค้า พร้อมตั้งเวลาจัดส่งข้อความหาลูกค้าแต่ละรายโดยอัตโนมัติ ทำให้ทางแบรนด์หมดกังวลได้ว่าลูกค้าจะไม่เห็นข้อความของแบรนด์ และมั่นใจได้ว่าข้อความจะถูกเปิดอ่านอย่างแน่นอน
AI Smart reminder
เป็นฟีเจอร์การใช้ AI เพื่อแจ้งเตือนให้ลูกค้าชำระเงิน เมื่อมีสินค้าตกค้างในตะกร้า แพลตฟอร์ม MAAC สามารถให้ LINE ส่งข้อความบรอดแคสต์อัตโนมัติไปหากลุ่มลูกค้าที่ยังไม่ได้ทำการชำระสินค้า หรือมีสินค้าตกค้างอยู่ในตระกร้าสินค้า เพื่อกระตุ้นให้กลับไปยังหน้าเว็บไซต์ของแบรนด์ และทำการชำระเงิน ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์เพิ่มยอดขายด้วย AI อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป
การทำ Segmentation หรือการแบ่งกลุ่มลูกค้า เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจลูกค้าในเชิงลึก และปรับกลยุทธ์การตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม อย่างไรก็ตาม ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลลูกค้ามีจำนวนมหาศาลและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การใช้วิธีดั้งเดิมอาจไม่เพียงพอต่อการแข่งขัน
AI และ Marketing Automation ได้กลายมาเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถทำ Segmentation ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่เพียงช่วยประหยัดเวลาและต้นทุน แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพของการตลาดให้ตรงเป้าหมายมากขึ้น
ธุรกิจที่ปรับตัวนำ AI มาช่วยใน Segmentation จะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน สร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคลที่ตอบโจทย์ และก้าวทันโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
สนใจเครื่องมือเทคโนโลยีการตลาด MarTech เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ LINE OA ของคุณ ปรึกษาทีมงานฟรี!

CherryNapat
I'm a Thai senior marketing specialist, working for a startup company in Taiwan.