Crescendo Lab Blog
MarTech Trends |

D2C คืออะไร? มารู้ 4 วิธีปรับตัวธุรกิจเป็น D2C ในปี 2025

Ainee S.

แบ่งปันบทความ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

อย่าลืมกดติดตาม Crescendo Lab สำหรับสาระน่ารู้ในแวดวง MarTech!

D2C/ DTC หรือ Direct to Consumer เป็นรูปแบบการขายของแบบใหม่ที่เจ้าของแบรนด์ซึ่งเป็นผู้ผลิตนั้น ปรับตัวมาขายสินค้าเองด้วยการติดต่อกับลูกค้าโดยตรง กลยุทธ์นี้เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะแบรนด์ชั้นนำระดับโลกได้นำไปปรับใช้จนอัตรารายได้โตขึ้นและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

D2C คืออะไร?

what is d2c

D2C หรือ DTC ได้ลบภาพวิธีการขายของผ่านตัวกลางแบบดั้งเดิมออกไปเลย เพราะกลยุทธ์นี้เจ้าของแบรนด์จะทำทุกอย่างในกระบวนการขายสินค้าแบบปลีกด้วยตัวเอง นั่นหมายความว่า หลังจากแบรนด์ผลิตสินค้าแล้ว จะต้องมีระบบรวบรวมสินค้า ทำการตลาด จัดทำช่องทางขายสินค้า สร้างช่องทางชำระเงิน จนกระทั่งแพ็คและจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าโดยตรง

การได้ควบคุมทุกกระบวนการขายแบบสมบูรณ์นี้ ช่วยลดขั้นตอนในการเจรจากับตัวกลางต่างๆ เช่น ผู้ค้าส่ง ตัวแทนจำหน่าย และผู้ค้าปลีก ซึ่งหัวใจสำคัญของ D2C คือการสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าที่ดีด้วยตัวแบรนด์เอง แม้ว่ากลยุทธ์นี้จะเหมาะกับแบรนด์ใหญ่ที่พอจะมีต้นทุน แต่ถ้านึกถึงความยั่งยืนแล้ว มีโอกาสเพิ่มรายได้ให้ธุรกิจอย่างก้าวกระโดด

D2C vs B2B2C ต่างกันอย่างไร?

d2c-vs-b2b2c

คุณคงเคยเห็นคำว่า B2B, B2C, และ B2BC ผ่านหูผ่านตามาบ้าง ทีนี้เรามาดูกันว่าสามคำนี้ต่างกันยังไงเมื่อเทียบกับ D2C

B2B ย่อมาจาก Business to Business เป็นการขายสินค้าหรือบริการระหว่างเจ้าของธุรกิจสู่เจ้าของธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Crecendo Lab ให้บริการระบบ CRM สำหรับ LINE OA ให้บริษัทอื่นที่ขายของออนไลน์

B2C หรือ Business to Consumer เป็นการขายผลิตภัณฑ์ระหว่างเจ้าของธุรกิจสู่ผู้บริโภค ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าออนไลน์ หรือการเดินไปซื้อกาแฟสักแก้วจากคาเฟ่ร้านโปรด

ทีนี้คุณอาจจะพอเดาได้แล้วว่า B2B2C ย่อมาจาก Business to Business to Consumer ซึ่งเป็นการรวม B2B และ B2C เข้าด้วยกัน โมเดลธุรกิจนี้ได้รวมทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน พูดง่ายๆ คือคนกลางที่ทำหน้าที่รวบรวมทุกฝ่ายเพื่อสร้างเป็นระบบ E-Commerce ยกตัวอย่างเช่น Lazada, Shopee, Amazon และ Alibaba เป็นต้น

B2B2C D2C
การเข้าถึงข้อมูลแบรนด์ แบรนด์ต้องอาศัยข้อมูลที่จัดทำโดยองค์กรอื่น แบรนด์เป็นเจ้าของข้อมูลทั้งหมด
แหล่งที่มาหลักของลูกค้า ผู้ใช้งานของแพลตฟอร์ม แบรนด์มีสมาชิกร้านค้าเป็นของตัวเอง
การสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์ม ความยืดหยุ่นต่ำ แบรนด์ตัดสินใจด้วยตัวเองได้ สามารถปรับแต่งรูปแบบได้ตามต้องการ
วิธีการทางการตลาดหลัก การตัดราคาสินค้าเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งบนแพลตฟอร์ม การตลาดแบบเจาะจง, การตลาดเฉพาะบุคคล
จุดมุ่งเน้นในการบริหารแบรนด์ แพลตฟอร์มเป็นศูนย์กลาง ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง หรือ การจัดการสมาชิกในเชิงลึก

จากตารางเปรียบเทียบและภาพข้างต้น จะได้เห็นได้ว่า D2C เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้บริษัทมี touch point และข้อมูลสมาชิกเป็นของตนเอง ที่สำคัญคือมีความยืดหยุ่นสูงในการบริหารระบบตามที่ธุรกิจต้องการได้

ประโยชน์ของ D2C ทำไมแบรนด์ควรทำ?

d2c_ประโยชน์

1. D2C ทำให้ธุรกิจเก็บข้อมูลลูกค้าได้ด้วยตนเอง

ปัจจุบันข้อมูลลูกค้าเปรียบเสมือนสมบัติล้ำค่าที่ทุกแบรนด์ให้ความสำคัญ ซึ่ง D2C เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้แบรนด์มีอำนาจในการเก็บ วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลลูกค้าได้อย่างเต็มที่ ข้อได้เปรียบนี้แหล่ะ ที่จะช่วยพัฒนาให้แบรนด์ตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างตรงจุด จนเกิดการซื้อซ้ำและสร้าง brand loyalty ในระยะยาว

เพื่อให้ข้อมูลที่เก็บได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หลายแบรนด์จึงหันมาใช้เครื่องมือการตลาด เช่น ระบบ LINE CRM อย่าง MAAC หรือระบบรวมแชท CAAC เพื่อสร้าง data ecosytem ที่เชื่อมข้อมูลให้เป็นระบบและมอบประสบการ์ณลูกค้าเฉพาะบุคคล (personalization) ยกตัวอย่างเช่น สร้างโปรไฟล์ลูกค้า Customer 360, ใช้ AI แนะนำสินค้าที่ใช่ในเวลาที่ใช่, ส่งแจ้งเตือนในช่องทางที่เหมาะที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละราย ฯลฯ

2. D2C ตัดปัญหายิบย่อยที่ต้องผ่านตัวกลาง

การขายแบบดั้งเดิมที่กว่าลูกค้าจะได้สินค้านั้น ต้องผ่านตัวกลางหลายต่อ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งด้านเงินและเวลา ปัญหาที่ตามมาอาจจะเป็นการขนส่งล่าช้า หรือการตกลงราคาที่ไม่ลงตัว ดังนั้นกลยุทธ์ D2C จึงเป็นทางออกที่ช่วยธุรกิจส่งผลิตภัณฑ์ถึงมือลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยตรง

3. ธุรกิจออกแบบประสบการณ์ซื้อได้เอง 100%

D2C มาพร้อมกับความอิสระที่ธุรกิจสามารถออกแบบประสบการณ์การซื้อสินค้าให้ลูกค้าของคุณในทุกขั้นตอน ซึ่งต่างไปจากการขายแบบวางจำหน่ายตามร้านค้าปลีกที่ไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้ว่าอยากให้สินค้าของคุณวางตรงไหนในร้านให้มีลูกค้าสนใจและมองเห็นสินค้าของคุณได้ง่ายที่สุด

หลายแบรนด์ดังจึงออกแบบเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์สิ่งที่ลูกค้ามองหา พร้อมกับผสานการใช้งานฟีเจอร์ต่าง ๆ จาก MAAC เช่น Deeplink เพื่อพาลูกค้าให้เป็นเพื่อนบน LINE OA หรือ Web Widget เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคบนเว็บไซต์

4. อัตรารายได้เติบโตมากขึ้นด้วยกลยุทธ์ D2C

พบว่าหลายแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์ D2C มีแนวโน้มว่าจะมีอัตรารายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม นั่นเป็นเพราะว่าการมีแพลตฟอร์มขายสินค้าของตัวเองนั้น ช่วยเพิ่มช่องทางการขายสินค้ามากขึ้น และยังเป็นการสร้างน่าเชื่อให้ถือให้ลูกค้าวางใจอีกด้วย

5. D2C ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

พอตัดตัวกลางออกไป แบรนด์ก็สามารถสื่อสารกับลูกค้าเองโดยตรง ทำให้สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่แน่นแฟ้นมากขึ้น แบรนด์ควรคว้าโอกาสนี้สร้างความประทับใจให้ลูกค้าด้วยการทำความเข้าใจความต้องการลูกค้าและแก้ปัญหาให้ต่างๆ อย่างรวดเร็ว

6. D2C ขายได้อย่างอิสระ ทุกที่ ทุกเวลา

แบรนด์ที่ทำ D2C จะไม่ถูกตัวกลางมาคอยจำกัด ทำให้สามารถขายผลิตภัณฑ์ในแพลตฟอร์มของตัวเองได้ตลอดเวลา และลูกค้าสามารถซื้อสินค้าของคุณได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม นอกจากนี้แบรนด์ยังมีอิสระในการควบคุมคุณภาพการบริการทุกด้าน เช่น การตอบกลับลูกค้า การแพ็คสินค้า และการขนส่ง นับว่าเป็นข้อดีที่ช่วยให้แบรนด์รักษามาตรฐานได้อย่างครอบคลุม

7. เปิดประสบการณ์ O2O ให้ลูกค้า

ผู้ผลิตที่ขายสินค้าเองโดยตรงได้เปรียบที่ได้สร้างประสบการณ์ Online-to-Offline (O2O) ให้ลูกค้าอย่างไร้รอยต่อ พูดง่าย ๆ คือ ลูกค้าได้เปิดประสบการณ์การซื้อของออนไลน์และเข้ามารับสินค้าได้ที่หน้าร้าน กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Adidas Taiwan ใช้การตลาดแบบ O2O โดยใช้ LINE Official Account ในการแจ้งเตือนโปรโมชั่นสินค้าที่ลูกค้าสนใจโดยเฉพาะ ค้นหาหน้าร้านที่ใกล้ที่สุด และยังเล่นเกมรับของรางวัลได้อีกด้วย (read more!)

ข้อจำกัดของ D2C มีอะไรบ้าง?

แม้ว่า D2C จะสร้างข้อได้เปรียบให้กับแบรนด์ได้มากกว่าที่คิด แต่อย่าลืมไปว่ากลยุทธ์นี้ก็มีข้อจำกัดที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม

1. การแข่งขันที่รุนแรงในตลาด D2C

จากรายงาน “Ecommerce in Southeast Asia 2024” โดย Momentum Works เผยว่าแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่าง Shopee และ Lazada ครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 49% และ 30% ตามลำดับ หมายความว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เว็บไซต์ D2C รายย่อยจะมี traffic ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้เท่ากับสองแพลตฟอร์มดังกล่าว

อย่างไรก็ตามการขายผ่าน marketplace มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า เครื่องมือ MarTech จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยให้ธุรกิจทำ D2C อย่างมีคุณภาพ ยกตัวอย่างเช่น PlayStation Thailand ที่ใช้ฟีเจอร์ Smart Sending บนแพลตฟอร์มการตลาด MAAC ที่ใช้ AI คาดการณ์เวลาเปิดอ่าน LINE ของลูกค้าแต่ละราย ทำให้อัตราเปิดอ่านเพิ่มจาก 45% เป็น 70% ซึ่งยิ่งเพิ่มโอกาสในการขายได้อย่างเห็นผล

2. D2C ต้องใช้ต้นทุนการดำเนินงานสูง

เมื่อแบรนด์ขายสินค้าเองโดยตรงแบบ D2C ก็ต้องรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  • ต้นทุนด้านเทคโนโลยี — สำหรับค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและดูแลเว็บไซต์ E-commerce, ระบบ CRM และแพลตฟอร์มชำระเงิน
  • ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ – การจัดเก็บสินค้า การบริหารสต๊อก และการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าแต่ละราย
  • ต้นทุนด้านการตลาด – แบรนด์ต้องลงทุนในการโฆษณาและสร้างการรับรู้ (awareness) ด้วยตัวเอง แทนที่จะมีตัวแทนจำหน่ายช่วยทำการตลาดให้

แม้ว่าการปรับธุรกิจเป็น D2C อาจมีต้นทุนแฝงอยู่มากมาย แต่เรามองว่ายังคงคุ้มค่า เพราะการมีเว็บไซต์ของแบรนด์เองช่วยให้เข้าถึง First-party data ของลูกค้า ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีทั้งคุณค่าและคุณภาพ หากแบรนด์เลือกใช้ระบบ CRM ที่เหมาะสม เช่น MAAC เพื่อทำ Personalized Marketing ก็จะยิ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำตลาดและเพิ่มยอดขายได้ในระยะยาว

3. ความซับซ้อนในการบริหารประสบการณ์ลูกค้า

ธุรกิจที่ทำ D2C จะต้องดูแลลูกค้าอย่างครบวงจรตั้งแต่ทำการตลาดที่เปรียบเสมือนต้นน้ำ ไปจนถึงจัดการเรื่องการขายและบริการหลังการขายที่เปรียบเสมือนปลายน้ำ กระบวนทั้งหมดนี้มีความซับซ้อนเนื่องจากแบรนด์ต้องสร้างระบบให้ทีมภายในทำงานราบรื่น ในขณะเดียวกับที่ต้องมอบประสบการณ์ลูกค้า (customer experience) ให้ตรงตามความคาดหวังของผู้บริโภค

ดังนั้นแบรนด์ควรมองหาเครื่องมือที่จะช่วยให้ทีม Customer Support ทำงานราบรื่น ตัวอย่างเช่น ระบบ LINE CRM อย่าง MAAC สำหรับทำการตลาดอัตโนมัติ, CAAC โปรแกรมรวมแชทที่ช่วยแอดมินตอบแชทจากหลายช่องทางในที่เดียว, หรือแพลตฟอร์ม CDP สำหรับเชื่อมข้อมูลข้ามช่องทาง

มาดู 4 วิธีปรับตัวธุรกิจให้ใช้กลยุทธ์ D2C

How to start D2C

พอได้รู้ข้อดีต่างๆ ของกลยุทธ์นี้แล้ว หลายคนคงมองเห็นโอกาสแล้วอยากจะลองพลิกธุรกิจสู่ D2C ในทันที แต่ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรใดๆ เราแนะนำให้ทำตาม 4 วิธีปรับตัวดังนี้

1. สำรวจตลาดในปัจจุบัน

ก่อนบุกตลาดด้วย D2C แบรนด์ควรสำรวจเงื่อนในตลาดปัจจุบันว่ามีพื้นที่ให้ใช้ข้อได้เปรียบจากกลยุทธ์ได้ยังไงบ้าง ตัวอย่างคำถามสำหรับการตั้งข้อสังเกต เช่น

  • แบรนด์ใหญ่ที่อยู่มานานสื่อสารกับลูกค้าอย่างไร?
  • สินค้าที่คุณขายหาซื้อยากมากน้อยแค่ไหน?
  • พฤติกรรมผู้บริโภคมีแนวโน้มเปลี่ยนไปในทิศทางไหน?

2. เตรียมรับมือกับการเก็บข้อมูล

แน่นอนว่าการมีแพลตฟอร์มขายสินค้าของตัวเองจะมาพร้อมกับฐานข้อมูลมหาศาลที่ต้องดูแล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นตัวนำทางให้คุณรู้ว่าควรสินค้าไหน ให้ใคร ผ่านช่องทางไหน และเมื่อไหร่

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า จะทำให้แบรนด์ทำการตลาดอย่างถูกที่ถูกเวลา ซึ่ง MAAC จาก Crescendo Lab เป็นระบบการตลาดอัตโนมัติที่มีฟีเจอร์ครบครันในการช่วยแบรนด์วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าผ่าน LINE Official Account (LINE OA)

3. เลือกเครื่องมือ MarTech ที่ใช่

อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ D2C คือความสัมพันธ์ลูกค้า การเลือกซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์มาช่วยดูแลระบบปฏิสัมพันธ์ลูกค้าแบรนด์คุณจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นลองหาข้อมูลระบบ CRM ที่มีในตลาดว่าเจ้าไหนเหมาะกับแบรนด์คุณ ตัวอย่างเช่น ระบบ LINE CRM อย่าง MAAC จาก Crescendo Lab ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดอัตโนมัติผ่าน LINE หรือระบบรวมแชท CAAC เพื่อยกระดับการบริการลูกค้าด้วยการรวมแชทและมอบหมายงานอัตโนมัติ

4. เพิ่มความใส่ใจการบริการลูกค้า

หลายบริษัทพบว่าสิ่งที่ง่ายกว่าการคอยนั่งหาลูกค้าใหม่ คือการสร้าง Brand Loyalty ให้ลูกค้าเก่ากลับมาซ้ำ ดังนั้นกุญแจสำคัญก่อนทำ D2C คือการยกระดับการบริการลูกค้า ฉะนั้นคุณควรเตรียมตัวจ้างทีมบริการลูกค้าที่มีคุณภาพ และอย่าลืมจัดอบรมให้ความรู้พนักงานเพื่อให้การตอบสนองความต้องการลูกค้ามีประสิทธิภาพและไปในทิศทางเดียวกัน

กรณีศึกษา: Nike กับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ดีเกินคาด

D2C Case study - Nikeขอบคุณภาพจาก Nike Thailand

Nike แบรนด์รองเท้าระดับโลกสัญชาติอเมริกัน เป็นตัวอย่างสุดคลาสสิกที่จับกลยุทธ์ D2C จนประสบความสำเร็จแบบพุ่งทะยานหลังถอนตัวออกจาก Amazon ในปี 2019

Nike ใช้โมเดล D2C โดยบูรณาการระหว่างเว็บไซต์และแอพพลิเคชันของตัวเอง ทำให้สมาชิกได้รับข้อมูลทางการตลาดแบบเฉพาะบุคคล และแบรนด์ยังมีระบบดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าแบบเชิงลึก จนทำให้เฟื่องฟูและมียอดขายทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นเกือบ 20% ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา

บทสรุป

D2C เรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ทรงอิทธิพลที่สามารถพลิกวิกฤตของ Digital Disruption ให้เป็นโอกาสจนทำให้แบรนด์ระดับโลกอย่าง Nike และ Timberland ได้ผลตอบรับที่ดีอย่างน่าตกใจ

Crescendo Lab ให้บริการแบบครบวงจรทั้งซอฟต์แวร์การตลาดและระบบ LINE CRM ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้กว่า 600 แบรนด์ ด้วยระบบที่ใช้งานง่ายและทันสมัย เราได้ช่วยแบรนด์เจาะลึก LINE D2C และรวบรวมช่องทางรวมถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้คุณเจาะข้อมูลลูกค้าแบบเชิงลึกและแม่นยำ ติดต่อเราตอนนี้เพื่อสร้างข้อได้เปรียบจากคู่แข่งด้วย D2C!

______________________________________________________________________________________________

อยากเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์ D2C อ่านเลย!

frequently asked questions

คำถามเพิ่มเติมที่คุณอาจสงสัย

1. ธุรกิจขนาดเล็กสามารถใช้กลยุทธ์ D2C ได้หรือไม่?

แม้ว่ากลยุทธ์ D2C มักจะถูกพูดถึงในแบรนด์ขนาดใหญ่อย่าง Nike แต่ธุรกิจขนาดเล็กก็สามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้เช่นกัน เพียงแต่ต้องมีกลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ที่ชัดเจน รวมถึงการใช้ช่องทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อกับลูกค้าโดยตรง เช่น การใช้แพลตฟอร์ม eCommerce และการโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย

2. ธุรกิจ D2C สามารถสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าได้อย่างไร?

การสร้างความไว้วางใจต้องใช้เวลา ธุรกิจควรใช้การสื่อสารที่โปร่งใส ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า เช่น รีวิวสินค้า การตอบคำถามอย่างรวดเร็ว และการสร้างประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการบริการหลังการขาย รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลลูกค้าเพื่อพัฒนาการสื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

3. D2C ส่งผลต่อการเติบโตระยะยาวของแบรนด์อย่างไร?

การเติบโตระยะยาวขึ้นอยู่กับการเก็บและใช้ข้อมูลลูกค้าอย่างชาญฉลาดเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าผ่านการสร้างประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะการสื่อสารกับลูกค้าผ่าน LINE OA ทำให้ลูกค้ามีความภักดีต่อแบรนด์และมีโอกาสที่จะกลับมาซื้อซ้ำมากขึ้น

 

กรอกข้อมูลเพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกลยุทธ์ D2C ด้วย LINE CRM