Crescendo Lab Blog
MarTech Trends |

9 วิธีขายของออนไลน์ปี 2025 นักขายมือใหม่ต้องอ่าน!

Ainee S.

แบ่งปันบทความ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

    อย่าลืมกดติดตาม Crescendo Lab สำหรับสาระน่ารู้ในสาย MarTech!

    สำหรับใครที่กำลังมองหาลู่ทางผันตัวเองไปเป็นพ่อค้า-แม่ค้าขายของออนไลน์ต้องไม่พลาดบล็อกนี้!

    เราเชื่อว่าในปัจจุบันการขายของออนไลน์ยังคงเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงเพื่อหารายได้เสริม หรือ ต้องการสร้างอะไรเป็นของตัวเอง Crescendo Lab จึงรวบรวม 9 ขั้นตอนการเริ่มเปิดร้านขายของออนไลน์ที่คุณสามารถทำตามได้จริงแบบ step-by-step

    หลังอ่านเช็คลิสต์นี้จบภายใน 5 นาที คุณก็จะสามารถเริ่มเปิดร้านขายของออนไลน์ในฝันได้เลย ท้ายบล็อกนี้ เรายังแถมเทคนิคเด็ดที่จะช่วยให้ยอดขายของแบรนด์คุณพุ่งทะยานสำหรับยอดนักขายมือฉมัง!

    เลือกอ่านหัวข้อที่คุณสนใจ 🔎

    9 วิธีขายของออนไลน์สำหรับมือใหม่

    เพียงทำตาม 9 ขั้นตอนง่าย ๆ นี้คุณก็สามารถเปิดร้านขายของออนไลน์ของตัวเองได้เลย

    ขั้นตอนที่ 1: เลือกสินค้าที่ใช่

    “ ขายอะไรดี? ” เรียกได้ว่าเป็นคำถามชวนกุมขมับสำหรับคนที่อยากเริ่มขายของออนไลน ถ้านึกเท่าไหร่ก็ยังนึกไม่ออกว่าจะขายของออนไลน์อะไรดี เราแนะนำให้เลือกจาก 2 วิธี ดังนี้

    1. เลือกจากความชอบ
    2. เลือกจากสินค้าที่กำลังติดเทรนด์

    ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นสายแฟชั่นชอบแต่งตัว อาจจะลองหาแหล่งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ที่กำลังฮิตมาขาย แต่ถ้าไม่มีความชอบส่วนตัว ลองสำรวจเทรนด์จากแพลตฟอร์ม social media ต่าง ๆ ว่ามีสินค้าอะไรที่กำลังมาแรง เช่น เทรนด์ของใช้สัตว์เลี้ยงเป็นที่นิยม อาจจะลองหาอาหารหรือของเล่นสัตว์เลี้ยงมาขาย เป็นต้น

    ขั้นตอนที่ 2: ศึกษาคู่แข่งในตลาด

    หลังจากที่คุณตัดสินใจได้แล้วว่าจะขายของอะไรในโลกออนไลน์ ให้ลองสำรวจร้านค้าที่ขายสินค้าคล้าย ๆ กันบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อดูราคาขาย วิธีโปรโมตสินค้า และกลยุทธ์ที่ร้านค้าเหล่านี้ใช้กัน รวมถึงให้สำรวจข้อมูลจากรีวิวลูกค้าให้ได้มากที่สุด เพื่อประเมินข้อดี-ข้อเสียของสินค้าคู่แข่ง เพราะจะช่วยให้คุณสามารถนำคำติชมมาปรับปรุงการขายสินค้า และการให้บริการของคุณให้ดีเพิ่มขึ้นไปอีกระดับ

    ขั้นตอนที่ 3: ตั้งชื่อร้านให้ปัง

    ขั้นตอนต่อมาคือ การตั้งชื่อร้านยังไงให้น่าจดจำ หัวใจสำคัญของการตั้งชื่อร้านคือ อ่านง่าย จำง่าย ค้นหาง่าย หากใช้ชื่อร้านเป็นภาษาต่างประเทศ อาจจะต้องคำนึงด้วยว่าคนไทยสามารถออกเสียงได้ถูกต้องไหม

    ถ้าอยากให้ร้านออนไลน์ของคุณค้นเจอง่ายใน Google หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เปิดขาย อาจจะลองตั้งชื่อร้านให้มีคีย์เวิร์ดที่สอดคล้องกับประเภทสินค้าที่คุณขาย เช่น ถ้าขายสินค้าตกแต่งบ้าน ให้ตั้งชื่อที่มีคำว่า Decor หรือ Home เป็นต้น แต่ก่อนจะเลือกชื่อร้านที่โดนใจ ลองสำรวจด้วยว่าชื่อที่คุณเล็งไว้ซ้ำกับคู่แข่งหรือแบรนด์อื่นไหม ชื่อแบรนด์จะได้ไม่ซ้ำกันเพราะลูกค้างงได้

    ขั้นตอนที่ 4: ค้นหากลุ่มลูกค้าที่ใช่

    แน่นอนว่ายอดขายของออนไลน์หลักนั้นมาจากการซื้อสินค้าของลูกค้า เพราะฉะนั้นคุณจะต้องทำการบ้านให้ดีว่าจะขายสินค้าให้ใคร ขั้นตอนนี้ต้องสวมหมวกนักวิเคราะห์การตลาด เพื่อสำรวจดูว่าลูกค้าในอนาคตของคุณมีลักษณะแบบไหนไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ อาชีพ หรือความชอบ ยิ่งคุณรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี 

    ถ้าจะให้ดีไปกว่านั้นคุณควรวางแผนการตลาดไปพร้อมๆ กัน เพราะแผนการตลาดนี้จะช่วยสร้างทิศทางว่าคุณจะต้องโปรโมทสินค้าให้ลูกค้าแต่ละกลุ่มลูกค้ารู้จักและเข้าถึงสินค้าของคุณได้อย่างไร

    ขั้นตอนที่ 5: คำนวณต้นทุนแล้วตั้งราคาสินค้า

    มองเผินๆ แล้วต้นทุนในการขายของออนไลน์เหมือนจะมีแค่ค่าสินค้าที่คุณเลือกมาขาย แต่อย่าลืมไปว่ายังมีต้นทุนส่วนอื่นที่ต้องนำมาหักค่าใช้จ่าย เช่น ค่าจัดส่ง ค่าอุปกรณ์แพ็กสินค้า ค่าโฆษณา หรือแม้กระทั่งค่า Gross Profit (GP) จากแพลตฟอร์ม E-commerce ฯลฯ ฉะนั้นควรคำนวณต้นทุนให้ครอบคลุม จะได้วางแผนถูกว่าควรปรับลดส่วนไหนเพื่อเพิ่มกำไรในอนาคต

    หลังจากคำนวณต้นทุนทุกอย่างเสร็จสรรพ คุณก็สามารถตั้งราคาสินค้าที่เหมาะสมได้ แต่อย่าลืมสำรวจดูว่าแบรนด์คู่แข่งตั้งราคาที่เท่าไหร่กัน จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการตัดราคาหรือขายราคาสูงกว่าตลาด

    ขั้นตอนที่ 6: เลือกขายในช่องทางการที่ตอบโจทย์

    สำหรับขั้นตอนนี้ คุณต้องเลือกช่องทางการขายให้ดี เพราะแต่ละช่องทางมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จตั้งแต่ช่วงที่เริ่มขายของออนไลน์ของคุณเลยก็ว่าได้ ที่จริงแล้วคุณสามารถเลือกได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง ยิ่งขายในหลายช่องทางก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสทำกำไรให้ธุรกิจคุณ

    ช่องทางการขายของออนไลน์ จุดเด่น
    LINE Official Account LINE OA เป็นแพลตฟอร์มที่มาพร้อมกับฟีเจอร์มากมาย นอกจาก LINE OA ที่ใช้คุยกับลูกค้าแบบ 1:1 แล้วยังมีช่องทางขายของตัวเองอย่าง LINE Shopping โดยลูกค้าไม่ต้องโหลดแอปฯ อื่นให้ยุ่งยาก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับแพลตฟอร์มการตลาด (MAAC) และระบบรวมแชทลูกค้า (CAAC) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขายให้ร้านค้าขายของออนไลน์คุณ
    Facebook จากผลสำรวจของ insightERA พบกว่าเฟสบุ๊คยังคงครองตำแหน่งอันดับหนึ่งของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่คนไทยนิยมใช้มากที่สุด ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและหลากหลาย เฟซบุ๊คจึงเป็นช่องทางแรกๆ ที่เหมาะกับการเริ่มต้นขายของออนไลน์มือใหม่
    Instagram เป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมในกลุ่มวัยรุ่น ช่องทางนี้จะเน้นการโพสต์ภาพ ร้านค้าจึงต้องมีฝีมือถ่ายภาพให้สินค้าน่าซื้อ และคอยทำคลิปสั้น Reels ดึงดูดผู้ติดตาม
    TikTok แพลตฟอร์มใหม่มาแรงตั้งแต่ช่วงโควิด และยังคงฮิตถึงปัจจุบัน จนกระทั่งได้พัฒนา TikTok Shop ซึ่งก็คือช่องทางขายของออนไลน์ของตัวเอง คนที่อยากขายของผ่าน TikTok ต้องขยันตัดต่อคลิปสั้นให้กระชับและน่าตื่นตาให้เข้าถึงฟีดผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด
    E-commerce Platform แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซตัวเลือกยอดนิยมอย่าง Shopee และ Lazada เป็นแพลตฟอร์มซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมหาศาลและหลากหลาย มีการแบ่งประเภทร้านค้าเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้า ทั้งนี้ร้านค้าจะโดนหักค่า Gross Profit (GP) จากยอดขายที่ได้จากร้านออนไลน์คุณ

    ขั้นตอนที่ 7: สร้างบัญชีร้านค้า

    หลังจากเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมตามที่แนะนำในข้อก่อนหน้านี้ได้แล้ว ให้คุณลงทะเบียนและกรอกข้อมูลร้านค้าให้ครบถ้วน ตั้งค่าการชำระเงินและการจัดส่งให้พร้อม เพื่อให้ลูกค้าสั่งซื้อและชำระเงินได้สะดวก

    ขั้นตอนที่ 8: ตั้งค่าการชำระเงิน

    เอาหล่ะ ใกล้จะถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ในสเต็ปนี้คุณควรศึกษาว่ามีช่องทางการชำระใดบ้าง ควรระบุวิธีการชำระเงินที่ชัดเจน และมีทางเลือกหลากหลายให้ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการโอนผ่านธนาคาร พร้อมเพย์ หรือกระเป๋าเงินดิจิทัลอย่าง Rabbit LINE Pay หรือ TrueMoney Wallet ยิ่งถ้าอยากขายให้ลูกค้าต่างประเทศด้วยแล้วหล่ะก็ อาจจะต้องเปิดบัญชีเพื่อรับเงินข้ามประเทศด้วย สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงความสะดวกของลูกค้าเป็นหลัก

    ขั้นตอนที่ 9: ถ่ายรูปสินค้าให้ปัง

    man-taking-photo-his-studio

    ขั้นตอนสุดท้ายก่อนขายจริงก็สำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่น ซึ่งก็คือขั้นตอนของการเตรียมภาพถ่ายสินค้าสำหรับขายของออนไลน์นั่นเอง รูปภาพสินค้าที่คุณใช้นำเสนอสินค้าเปรียบเสมือนด่านหน้าที่จะดึงดูดให้ลูกค้าตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าจากร้านของคุณ

    เราแนะนำให้ใช้แสงธรรมชาติและถ่ายรูปสินค้าหลายมุม และให้เห็นรายละเอียดสินค้าชัดเจน ภาพต้องคมชัดและมีพื้นหลังที่เรียบง่าย อัปโหลดรูปถ่ายเหล่านี้ในแพลตฟอร์มที่คุณจะขายสินค้า พร้อมเขียนคำบรรยายที่ดึงดูดใจ เพียงเท่านี้ร้านขายของออนไลน์ของคุณก็พร้อมเปิดต้อนรับลูกค้าใหม่ได้เลย

    แนะนำ 5 เทคนิคปั้นร้านขายของออนไลน์ให้ยอดขายพุ่ง

    เทคนิค-ขายของออนไลน์

    สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ช่ำชองในสนามขายของออนไลน์มาพอสมควร ลองทำตามเทคนิคต่อไปนี้เพื่อเพิ่มยอดขายให้ทะลุเป้า

    1. นำเสนอคอนเทนต์หลากหลาย

    การโพสต์คอนเทนต์สินค้าซ้ำๆ ทื่อๆ อาจจะไม่น่าดึงดูดสำหรับลูกค้าที่ติดตามร้านคุณมานาน คำแนะนำของเราคือให้ลองเปลี่ยนแคปชั่นใต้ภาพสินค้าที่คุณโพสต์ ลงทุนถ่ายเปลี่ยนแนวการถ่ายสินค้า รวมถึงลองนำเสนอในรูปแบบวิดิโอบน Reels หรือ TikTok เพื่อสร้างความตื่นตาให้ผู้ติดตามและเกิดการรับรู้ในรูปแบบใหม่ๆ

    2. เพิ่มช่องทางการขายสินค้า

    คอยติดตามข่าวสารว่ามีแพลตฟอร์มไหนมาใหม่ หรือกำลังมาแรง ยิ่งคุณขายสินค้าในหลายช่องทาง ยิ่งเพิ่มโอกาสได้ลูกค้าหน้าใหม่ ยกตัวอย่างเช่น LINE เป็นแพลตฟอร์มที่หลายคนอาจจะมองข้าม นอกจากช่องทาง LINE Official Account (LINE OA) และ LINE MyShop แล้ว ยังมีเครื่องมือช่วยทำการตลาดอัตโนมัติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดเชิงลึกอย่าง MAAC ที่จะทำให้คุณคาดการณ์ลูกค้าที่จะซื้อในอนาคตได้อีกด้วย

    3. สร้างความน่าเชื่อถือจากรีวิวลูกค้า

    รีวิวลูกค้าเก่ามีผลต่อการตัดสินใจซื้อลูกค้าใหม่ คุณสามารถนำรีวิวเหล่านี้มาทำเป็นคอนเทนต์สร้างความน่าเชื่อถือได้ แต่สำหรับรีวิวที่ไม่ดีนั้น ก็ควรใส่ใจและแสดงความรับผิดชอบโดยการช่วยลูกค้าแก้ไขปัญหาทันที เพียงแค่นี้ก็สามารถเพิ่มความอุ่นใจให้ลูกค้าหน้าใหม่ตัดสินใจซื้อมากขึ้น

    4. มองหาโซลูชันการตลาด เจาะความสนใจรายบุคคล

    TH blog infographic - cherry (2)

    สิ่งที่พิสูจน์มาแล้วว่าช่วยให้ยอดขายของออนไลน์ของหลาย ๆ แบรนด์โตขึ้นก็คือ การใช้โซลูชันการตลาดอัตโนมัติที่นอกจากจะประหยัดเวลาวางแผนแคมเปญการตลาดแล้ว ยังจะช่วยให้แบรนด์ทำการตลาดเฉพาะบุคคล (Personalized Marketing)

    ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม MAAC จาก Crescendo Lab ที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการช่วยโปรโมทสินค้าที่ลูกค้าแต่ละรายสนใจผ่าน LINE OA พร้อมยังสามารถส่งข้อความในเวลาที่ลูกค้ามีโอกาสเปิดอ่านสูงสุด หรือแบรนด์สามารถสร้าง Personalized Rich Menu ให้ลูกค้าเห็นโปรโมชันเฉพาะกลุ่มจากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการคลิก

    5. อัปเกรดประสิทธิภาพการทำงานของระบบหลังบ้าน

    CAAC-AI_TH_Blogpost

    เมื่อยอดขายคุณโตขึ้น ระบบการจัดการหลังบ้านที่ดียิ่งมีความสำคัญ คุณอาจจะต้องพิจารณาระบบหลังบ้านเพิ่มเติมไว้เป็นตัวช่วยบริหารร้านค้าออนไลน์ให้ทำงานอย่างราบรื่น

    ยกตัวอย่างเช่น ระบบ CAAC จาก Crescendo Lab ซึ่งก็คือโปรแกรมรวมแชทลูกค้า ที่จะตอบโจทย์เรื่องการดูแลลูกค้าภายนอกและการบริหารงานภายในองค์กรแบบรอบด้าน ระบบ CAAC จะเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการร้านค้าโดยมอบหมายงานอัตโนมัติให้กับเอเจนต์ที่ดูแลลูกค้าแต่ละราย และยังมีระบบ AI ที่ช่วยปรับข้อความการโต้ตอบลูกค้าให้สละสลวยได้อัตโนมัติอีกด้วย

    ตาคุณแล้ว!

    หลังจากที่ได้อ่านคำแนะนำดีๆ ในบทความนี้จบแล้ว จากนี้จะเป็นการลงสนามจริง ขอแค่คุณมีความกล้าและมั่นใจ ก็มีโอกาสขายของออนไลน์สำเร็จจจนกลายเป็นอายุน้อยร้อยล้านคนถัดไป และเมื่อวันนั้นมาถึงอย่าลืมว่าการลงทุนกับระบบการตลาดและระบบบริหารร้านขายของออนไลน์ที่ดีอย่าง MAAC และ CAAC จะช่วยให้คุณมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ราบรื่นและประทับใจลูกค้าแน่นอน

    Frequently Asked Questions

    ตอบคำถามที่คุณอยากรู้!

    อยากขายของออนไลน์แต่มีต้นทุนจำกัดทำอย่างไรดี?
    หากมีต้นทุนจำกัด คุณสามารถเริ่มขายสินค้าแบบพรีออเดอร์ (สั่งล่วงหน้า) เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องสต็อกสินค้า ใช้โซเชียลมีเดียในการโปรโมทที่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น การโพสต์ในกลุ่ม Facebook หรือใช้ influencer ที่มีผู้ติดตามไม่มากแต่เฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ สามารถเริ่มจากสินค้าที่ไม่ต้องการเงินลงทุนมาก เช่น งานฝีมือหรือสินค้าแฮนด์เมด
    บุคลิกไม่เหมาะกับขายของออนไลน์ทำอย่างไร?

    หากคุณรู้สึกว่าบุคลิกของคุณไม่เข้ากับการขายของออนไลน์ ลองเน้นการขายผ่านการเขียนเนื้อหาที่ดึงดูดใจมากกว่าใช้วิธีพูดคุย หรือใช้เครื่องมืออัตโนมัติช่วยตอบลูกค้า เช่น แชทบอท หรือให้เพื่อนหรือพาร์ทเนอร์ที่มีบุคลิกเข้ากับการขายช่วยดูแลเรื่องการบริการลูกค้า คุณยังสามารถทำงานเบื้องหลัง เช่น การจัดการสต็อก การทำคอนเทนต์ หรือโปรโมทได้

    อยากเริ่มขายของออนไลน์ ขายอะไรดี?

    กรอกข้อมูลเพื่อรับคำปรึกษาระบบ LINE CRM ฟรี